วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


หลายท่านวิ่งตามกระแสไก่พม่าจนไม่ลืมหูลืมตา บางท่านคิดไม่ออกว่าเราควรจะวิ่งตามไปทางใด เห็นกระแสพม่าม้าล่อมาแรงก็วิ่งตาม ค้นหาทุกเหล่าที่เป็นพม่าม้าล่อรำวง ทำให้ไก่สายพันธุ์นี้ราคาแพงอย่างรวดเร็ว ทางฟาร์มก็เหมือนกันในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานำเข้าพ่อแม่พันธุ์สายม้าล่อรำวงก็หมดไปหลายแสน ผลสรุปของการแสวงหาก็มีข้อคิดมาฝากกันว่า
ม้าล่อรำวงที่เราได้มามีหลายลักษณะ แต่ละลักษณะก็มีข้อจำกัดในตัวเองพอจะสรุปได้ดังนี้
1. กลุ่มม้าล่อที่ไม่รำวง อาจเป็นม้าล่อสั้นสลับยาวหรือม้าล่อยาว พวกนี้เท่าที่สังเกตุเป็นไก่ลูกผสมเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าเกินร้อย 80 เป็นลูกผสม จะผสมสายเลือดใดก็ตามที แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ม้าล่อแท้ จุดอ่อนของพวกนี้คือ วิ่งไม่สวยงาม บางทีวิ่งมากเกินไป จังหวะการเข้าทำคู่ต่อสู้ไม่ดี มีบางตัวเท่านั้นวิ่งจนคู่ต่อสู้เหนื่อยและกลับมาตีเช็คบิลได้ ซึ่งลักษณะแบบนี้มีน้อยมาก ส่วนมากวิ่งไม่มีจุดหมาย วิ่งไปจังหวะกลับมากลับยไม่มีแข้งเปล่า กลับมาใช้ปากหยิบตี วิ่งแล้วโดดสังเวียน วิ่งแล้วหนีเลยเป็นต้น จุดเด่นที่เราค้นพบในกลุ่มม้าล่อแบบนี้คือ ตัวที่วิ่งดี ๆ ปอดดี ๆ จังหวะกลับมาทำดี ๆ แบบนี้น่ากลัวมาก แม้จะมีน้อยตัวในสนามแต่ก็มักจะพบเห็นเรื่อย ๆ ครับ ดังนั้นม้าล่อลูกผสมดี ๆ ที่วิ่งแกร่ง ๆ กลับมาทำเจ็บ ๆ แบบนี้ยังจะมีอยู่คู่สังเวียนไก่ชนต่อไปครับ
ที่น่าสังเกตม้าล่อแบบนี้มักจะให้ลูกไม่ค่อย เนียนเหมือนตัวเองครับ มีความแปรปรวนในกลุ่มของลูกหลานสูงครับ
2. กลุ่มม้าล่อรำวงแท้ ส่วนมากเป็นพวกลูกร้อยครับ ลักษณะเด่นคือ สาดแข้งหน้าจัดจ้านมาก ชิ่งออกซ้ายขวาเก่ง  สเต็บเท้าจังหวะการออกวิ่งดีเยี่ยม เห็นแล้วเนียนตา ที่ฟาร์มเท่าที่พัฒนามามีพบในเหล่าหมูบเทพ เหล่าประกายทอง เหล่านินจา และเหล่าที่นำเข้ามาพัฒนาใหม่ ๆ เช่น สันหัววัว วังน้ำลี้ ลำปางนางเหลี่ยว แจ้สะเดิด สวนมะนาว สุรพรชัย ฯลฯ เหล่าไก่พวกนี้มีจุดเด่นหลายประการในการถ่ายทอดลูกหลานที่มีสไตล์ม้าล่อรำวง เป็นสุดยอดลีลาของพม่ายุคนี้ จุดอ่อนที่สำคัญที่พบในบางเหล่าที่เราพัฒนาและนำเข้ามาพัฒนาก็คือ เบอร์แข้งไม่ดี ความแม่นยำมีน้อย เรียกว่าได้แต่ลีลาไม่สามารถเก็บไก่ได้ อันนั้นเราไม่สามารถชี้แจงได้ว่าเป็นเหล่าไหนบ้างเดี๋ยวจะเป็นการโจมตีซึ่งกันและกัน ท่านจะต้องใช้ความสามารถค้นหาเองแหละครับ บางคนซื้อทุกเหล่าใช้เงินจำนวนมากเพื่อศึกษาเหล่าต่าง ๆ กว่าจะได้ประสบการณ์ก็หมดตังหลายอัฐเช่นกัน
ที่น่าสังเกตไก่พวกนี้ถ่ายทอดลูกหลานได้ดและมีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ร่างกายจะค่อนข้างอ่อนแอสำหรับพวกเลือดสูง เรียกว่าบินดี5นาทีแรก
 ดังนั้นก่อที่ท่านจะวิ่งตามกระแสให้ชั่งใจก่อนว่าว่าท่านชอบอะไรจะได้ลงทุนไม่มากนัก ผมได้ข้อสรุปว่าฟาร์มเองก็ลงทุนมหาศาลก่าจะหาจุดลงตัวได้ ดังนั้นพ่อแม่ตัวเก่งจึงถูกซื้อด้วยราคาแพง ๆ เพราะความหวังเดียวคือเราน่าจะได้เหล่าดี ความคาดหวังนี้มีทุกครั้งที่เราซื้อแต่ก็มีทุกครั้งที่เราพบสิ่งที่เราไม่พอใจปะปนมาเสมอ ลองคิดดู

เชิงไก่พม่าและพม่ารำวง มีหลายรูบแบบ


พม่ารำวง

 พม่ารำวง

๑. ถอยแล้วสาด
คือการก้าวถอยหลังรอคู่ต่อสู้เข้ามา เมื่อได้จังหวะก็จะสาดแข้งเปล่าในลักษณะสร้าวงความกังวลให้คู่
ต่อสู้เป็นอย่างมาก ลีลาถอยแล้วสาดเปล่านี้ถือเชิงพม่าที่สวยงาม ถ้าจะให้ครบเครื่องต้องส่ายหัวลงต่ำไปมาทำให้คู่ต่อสู้สับสน
๒.เดินแล้วสาด
แตกต่างจากชั้นเชิงแรกที่ถอยแล้วสาด แต่ในเชิงนี้จะเป็นการก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมกับ พร้อมหาจังหวะสาดแข้งเปล่า ซึ่งเชิงนี้ค่อนข้างเสียงกว่าเชิงแรก เนื่่องจากต้องเข้าปะทะ หน้าตรง หากไปเจอคู่ต่อสู้ที่สาดนำ เชิงเดินหน้าสาดขึ้นอยู่กับคู่ต่อสู้ด้วยเชิงกัน ถ้าแม่นๆหนักๆ ก็อาจน๊อก๕ุ่ต่อสู้ได้เช่นกัน
๓.เชิงลงต่ำแล้วสาด
เชิงนี้จะเป็นเชิงพม่า ที่รอจังหวะสองได้ดี ไก่เก่งๆหัวจะต่ำและส่ายไปมา ยืนนิ่งๆรอคู่ต่อสู้หลวมเข้ามา ซ้ำไก่เก่ง ไม่ปล่อยพลาดโอกาศทอง
๔.พม่าม้าล่อแล้วสาด
โดนจะวิ่งวนซ้ายทีขวาทีรอบสังเวียนคอยหาจังหวะตี มีทั้งวิ่งสั้นตี วิ่งยาวตี เก่งไปคนละแบบ ถ้าวิ่งสั้นวนไปมาสั้นๆ คอยเหลียวมองตลอดแล้วออกแข้งเปล่า ตลอด นี้คือล่อรำวง
๕. ถอดแล้วจับหูนอก
เชิงนี้ดูแล้วมันสุด ได้รับเสียงเชียร์ทั่วสนามคือ เมื่อถูกขี่หรือกดหัวกดคอ จะถอดชักหัวหรือชักลิ่มออกมา ทำให้คู่ต่อสู้หลุดถลำลงต่ำ จังหวะนั้นไก่พม่าในระยะประชิดจะสาดแข้งเปล่าเข้าใส่อย่างดุดัน จะเชียร์มันเพราะขณะสถาณะการณ์เป็นรองจะถอดชักลิ่มแล้วจับหูนอกโกย๕ุ่ต่อสู้ไม่รู้ตัว
พม่ารำวง

ไก่ชนพม่ารำวง คืออะไร เป็นอย่างไร

พม่ารำวงเป็นไก่ที่มีสไตล์เมื่อคู่ต่อสู้เดินเข้าหา จะวิ่งออกไปสั้นๆ วนซ้ายไป วนขวาไปมาแล้วกลับมาตบ แล้วเต๊ะแล้วตีด้วยแข้งหน้า พม่ารำวงจะเป็นไก่ที่ไม่ยอมให้คู่ต่อสู้ได้เข้าใกล้ตัวเลย จะวิ่งหนีออกประมาณ 3-4 ก้าวแล้วจะกลับมาตบ มาเต๊ะ มาตี จนคู่ต่อสู้เข้าไม่ถึงตัว เมื่อเจอไก่เชิงไล่ขี่คอ เมื่อไก่เชิงขึ้นไล่ประกบคอ จะออกวิ่งไปข้างหน้าเพื่อหาจังหวะตี คือไม่มีคอให้กอด ไม่มีคอให้ขี่ หรือเมื่อไก่เชิงมุดมัดเข้าปีก จะวิ่งออกแล้วกลับมาตบ ไม่มีปีกให้เข้าอีก
ไก่ประเภทนี้เก่ง ไอคิวดี ฉลาด แต่มักจะหลงทางคู่ต่อสู้ที่เป็นพม่า100 ที่ไม่ยอมเข้าเกี้ยว หรือเดินเข้าหาด้วยกัน ไก่พม่ารำวงส่วนมากจะเป็นไก่ที่เก่งเมื่อคู่ต่อสู้เดินเข้าหา แต่มักจะเสียเชิงชนกับไก่ที่ไม่ยอมเดินเข้าหา เช่นพม่าลูก 100 ไม่ยอมเข้าเกี้ยวเลย พม่าพวกนี้เก่งพม่าด้วยกัน จะหลอกล่อให้คู่ต่อสู้เดินเข้าหา ยั่วยุไปเรื่อยๆ ตัวเก่งๆลูกล่อลูกชนดีๆ ปากจะจิกดินคุ้ยเขี่ยยั่วยุคู่ต่อสู้ จนคู่ต่อสู้โมโห เมื่อคู่ต่อสู้โมโหจะเดินเข้าหา และจะเป็นตัวออกอาวุธให้คู่ต่อสู้หลงทาง
สำหรับพม่ารำวงถ้าตีไก่เชิง หรือไก่ที่เดินเข้าหาจะเป็นตัวโชว์ลีลาเพลงแข้งซะเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการเพาะพัฒนาพม่ารำวงที่ผมจะกล่าวถึงนี้ ผมจะพูดถึงการเพาะพัฒนาให้ไก่พม่ารำวงที่สามารถเพาะพัฒนาออกมาแล้วสามารถ ที่ตีได้ทั้งไก่เชิง และไก่พม่าที่ไม่ยอมเข้าเกี้ยวเลย สำหรับแนวทางการเพาะพัฒนาก็มีวิธีการเรียนรัดดังนี้ครับ ก่อนอื่นต้องหาพ่อพันธ์ที่เป็นพม่ารำวงที่มีไอคิวดี ออกวิ่งวนซ้ายขวา แล้วตี และที่สำคัญต้องออกแข้งถี่มากๆ ถึงจะดี ไม่ใช่ได้แต่ลีลา วิ่งวนไปมา วิ่งสั้นสลับยาว แล้วค่อยออกอาวุธ
เราจะคัดพ่อพันธ์ที่ออกแข้งถี่ ลีลาดี วิ่งวนซ้าย ขวา ออกแข้งแม่นยำ แล้วหาแม่พันธ์ที่ตัวคู่ของมันผู้ชนถึงในสนามมาแล้ว และลีลา ลีลาที่ต้องการคือเดินเสริฟแข้งหน้า หรือเดินกระแทกแล้วซิ่งออกข้าง เต๊ะทีวิ่งออกสไลท์ข้างซ้ายที สไลท์ขวาที และที่สำคัญต้องเป็นไก่ที่ตีชนะไก่พม่าที่ถอย และสายพันธ์ที่เราจะพัฒนาต้องเป็นไก่พม่าเดินเสริฟ แล้วนำมาเพาะกับพ่อพันธ์พม่ารำวง ที่เราเตรียมไว้ เพื่อให้ได้สายพันธ์ที่ตีได้ทั้ง ไก่เดินเข้าหาและไก่ที่ถอยหลังตี “
เจ้าเทา แบล็คฮอร์ก พ่ายให้แก่ป่าก๋อย ทีมงานพิจิตร ในเดิมพัน 3 ล้าน เล่นนอกเงินสะพัดนับ 10 ล้าน 

เหมือนคำที่ว่าในวงการไก่ชน ไก่ชนไม่มีแชมป์  แชมป์เจอแชมป์ ก็ต้องมีผู้เสียแชมป์ เกมส์กีฬา เหมือนที่ผู้ใหญ่บอกของเล่นไม่ใช่ของจริง ครับ

ค่าตัวหลักแสน แพ้ ค่าตัวหลักพัน ค่าตัวหลักหมื่น แพ้ ค่าตัวหลักร้อย ก็มีให้เห็นมากมาย ครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ล้วนแล้วแต่องค์ประกอบต่างๆอื่นๆอีกมากมาย ครับ ในเกมส์กีฬาชนไก่ ทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์ล้วนเป็นคนอุปโหลค สร้างมูลค่าค่าตัวไก่ขึ้นมาเองให้สวยหรู

ถึงนัดนี้เจ้าเทาจะพ่ายให้ผู้ต่อสู้ด้วยเพลงตี และสภาพร่างก่ายค่อยไม่เต็มร้อย แต่ก็ขอยกให้เป็น ( ยอดไก่เก่งเงินล้าน ) ตัวนึงที่ผมชอบมาก ครับ

ประวัติ เจ้าเทา ผมก็ไม่ค่อยใช่นักวิชาการได้ศึกษาเท่าไหร่ ครับ ส่วนมากไก่ที่ผมเห็นไม่เคยถามประวัติความเป็นมา ดูจากที่สนามจริง ครับ ก็เก็บมาเล่าให้ฟัง

ไฟท์แรก ที่ผมเห็นชน ชนที่ สนามมหาลาภ เขาใหญ่ 2 แสน 

ผมเห็นแววไก่ตัวนี้ ตั้งแต่เริ่มเข้ามาชนภาคกลาง ถ้าไก่ตัวนี้ได้อยู่ในมือกับผู้ที่พร้อม ด้านสถานะการเงิน ซุ้มใหญ่ ไก่ตัวนี้ต้องได้ชนแพงมีอนาคตแน่นอน ครับ

ผมเคยเอาคลิปมาลงให้สมาชิกชมกัน คงจะได้ชมบรรยากาศกันบ้างเล็กๆน้อยๆแล้ว นะครับ

ไฟท์ 2 ชนที่ สนามเทิดไท ครับ ชนกับก๋อยลูกผสม ของค่ายของพี่แปะบางเลน ชนกัน 1 ล้าน ครับ

วันนี้เจ้าเทา โชร์ฟอร์มสวยงาม เป็นไก่ใช้ไอคิว ชนใช้สมอง แข้งหน้าจัดมาก เป็นไก่เก่งหน้าหงอน ครับ ชนะผู้ต่อสู้ไปได้สวยงามในนัดนี้

ไฟท์ 3 ติดมัดจำชน กัน 1 ล้าน 5 เสมอนอกกันอีก 1 ล้าน 5 เป็นเงิน 3 ล้าน เจ้าเทาเจอจับทางตีผู้ต่อสู้ทำการบ้านมาดี เอา vcd มาศึกษาข้อมูล

ต้องยกยกเครดิตให้ ป่าก๋อย ตัวนี้ด้วย ครับ เล่นไก่มาตั้งแต่เล็กจนโต ก็เพิ่งเห็นไก่ตัวนี้แหละ ครับ บ้าตี จี้ติดตีเข้าจุด ไม่มีหมดดื้อแข้งมากๆ ต้องยอมรับ ครับ

เอามาให้ศึกษากัน ครับ สำหรับมือใหม่ๆ ไก่เก่งไม่ใช่ว่าจะตีไก่ได้ทุกเชิง รู้เข้ารู้เรา ชัยชนะอยู่แค่อื้ม นะครับ ทุกๆท่าน


นิยามของพม่าม้าล่อรำวง ก็คือไก่พม่าที่ออกสไตล์การชนแบบไม่ยอมปะทะซึ่งหน้า จะเน้นสาดแข้งเป่ล่าและซิ่งออกซ้ายขวา จังหวะจวนตัวจะออกวิ่งสั้น ๆ หันกลับมาตบ ดังนั้นพม่าม้าล่อรำวงจะทำเชิงเด่น ๆ ให้เห็นคือ


1. สาดแข้งเปล่า เน้นสาดเร็วถี่มากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ การสาดแข้งเปล่าจะเป็นทั้งการสาดป้องกันตัวเมื่คู่ต่อสู้ขยับเข้าหา และสาดแข้งเปล่าเพื่อหาช่องทางหลบหลีก เป็นการทำลายจังหวะคู่ต่อสู้แล้วค่อยหลบหลีก การสาดแข้งเปล่าสองแบบนี้ส่วนมากมีผลไม่มากยกเว้นตัวที่แม่นและเน้นจริง ๆ ซึ่งจะมีน้อยตัว...จังหวะทำลายของแข้งเปล่าคือ จังหวะที่คู่ต่อสู้นิ่ง ๆ และขยับเข้าหาจังหวะนี้แข้งเปล่าสาดดัก ๆ หักเลยครับ อีกจังหวะคือจังหวะวิ่งล่อสั้นหันกลับมาตบจังหวะนี้ก็หักเลยเช่นกัน ...พม่ารำวงที่เก่งแข้งเป่าต้องหวังผลในสองจังหวะนี้ครับ...


2. หนีปีก คือจังหวะคู่ต่อสู้เข้าปีกต้องเดินออกหรือวิ่งออกทันที และเมื่อเดินออกหรือวิ่งออกก็ต้องหันกลับมาตบทันทีเช่นกัน วิ่งออกเฉยยังใช้ไม่ได้ วิ่งออกต้องทำเลย จังหวะเอียงที่วิ่งออกต้องสามารถออกแข้งได้ทันที อันนี้สุดยอด  การหนีปีกจะใช้ในกรณีคู่ต่อสู้ไม่เร็วนัก  ถ้าคู่ต่อสู้เร็วหนีปีกอย่างเดียวไม่พอต้องวิ่งด้วย


3 วิ่งล่อสั้น คือจังหวะการวิ่งออกเมื่อโดนประชิดตัว  ต้องวิ่งเร็ว ออกห่างให้เร็วพอที่จะตั้งตัวสาดแข้งเปล่าทำลายคู่ต่อสู้ได้  การวิ่งล่อจะใช้เมื่อกรณีคู่ต่อสู้เป็นไก่เข้าออกเร็วเท่านั้น ไม่ใช้กรณีนี้ฟุ่มเฟือย..ไม่ใช่วิ่งทุกระยะ บางตัวถูกแตะคอหน่อยวิ่งไม่คิดชีวิตแบบนี้ก็เป็นไก่ธรรมดาครับ..ม้าล่อสั้นระวงไม่ห่วงวิ่งแต่ห่วงจังหวะการทำคู่ต่อสู้มากกว่า การวิ่งเป็นการหาโอกาสทำเท่านั้น..

4. ขยายออกซ้ายขวาเก่ง คือถอยเร็ว ๆ ออกซ้ายได้ขวาได้ ไม่ถอยตรง ตัวเด่น ถอยเป็นฟันปลา หรือถอยเป็นวงกลมหมุนซ้ายทีขวาที จังหวะที่ถอยก็ต้อสาดแข้งป้องกันตัว และสาดแข้งทำลายคู่ต่อสู้ตลอดเวลาไม่ยอมให้คู่ต่อสู้เข้าใกล้

สรุปม้าล่อรำวง คือไก่ที่เน้นสาดแข้งเปล่าและชิงจังหวะหนีเพื่อหาจังหวะทำลายคู่ต่อสู้ ม้าล่อสั้นที่ดีคือ สาดแข้งเปล่าต้องแม่นหวังผลและหนีเก่ง แต่ไม่ใช่หนีอย่างเดียว

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ไก่ชนพันธุ์ลายหางขาว

ไก่ชน พันธุ์ ลายหางขาว
ไก่ชนพันธุ์ลายหางขาว
แหล่งกำเนิด เป็นไก่ในเขตภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ในภาคอีสาน ขอนแก่น มหาสารคาม ในภาคกลางและภาคใต้จะพบอยู่ทั่วไป เช่น เพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
ประเภท ไก่ลายหางขาวเป็นสายพันธุ์ไก่ชน ตัวผู้หนัก 3.0 - 4.0 กก. ตัวเมียหนัก 2.5 - 3.0 กก.
สีของเปลือกไข่ ไข่จะสีขาวอมน้ำตาล ที่เรียกว่าสีไข่ไก่ ลูกเจี๊ยบสีดำมอๆ หน้าอกขาว หัวจะมีจุดขาว ตา ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง
ประวัติความเป็นมา ไก่ลายหางขาวเป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณครั้งสมัยสุโขทัย จัดเป็นไก่เก่งทางภาคเหนือที่เราเรียก กันว่า "ไก่เบี้ย หรือ ไก่ข่อย" ทราบว่าในสมัยสุโขทัยพ่อขุนเม็งราย พระสหายพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงโปรดไก่เบี้ย ไก่ข่อย หรือไก่ลายหางขาวมาก เคยชนกับไก่ประดู่แสมดำหางดำของพ่อขุนรามคำแหง ไก่ลายปัจจุบันมีอยู่ทั่วๆไป สีคล้ายๆกับไก่บาร์พลีมัทร็อคของฝรั่ง เป็นไก่พันธุ์เนื้อและพันธุ์ไข่ แต่ของไทยเป็นพันธุ์ไก่ชน

ไก่ชนพันธุ์นกแดงหางแดง

ไก่ชนพันธุ์นกแดงหางแดง
ไก่ชนพันธุ์นกแดงหางแดงสายพันธุ์ไก่นกแดงหางแดง เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ มีอยู่ทั่ว ๆ ไป แถบภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ไก่นกแดงที่มีชื่อโด่งดังครั้งสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นไก่ของขุนฤทธิ์ปูพ่าย หรือพระยาศรีไสณรงค์ เจ้าเมืองกาญจนบุรี ทหารเอกแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเป็นเพื่อนสนิทของขุนเดชพระเวทย์แสนศึกสู้ หรือพระยาไชยบูลย์ผู้นิยมไก่เขียวหางดำ และไก่นกแดงเช่นกัน 

ประดู่เลาหางขาว

ไก่ชน ประดู่เลาหางขาว
ไก่ชนพันธุ์ประดู่เลาหางขาว แหล่งกำเนิด เชื่อว่ามาจากพระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี กำแพงเพชร มีนบุรี หนองจอก สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ประเภท เป็นไก่ชนไทยขนาดกลาง ตัวผู้หนัก 3.00 - 4.00 กก. ตัวเมียหนัก 2.50 - 3.00 กก. สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน สีของลูกเจี๊ยบ ขนหัว ขนคอขาว ขนหางดำ ปีกในสีดำ ปีกนอกสีขาว หน้าคอ หน้าท้องสีขาว ประวัติความเป็นมา ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร พัฒนามาจากไก่สายพันธุ์ใด ในประวัติศาสตร์ หรือการบันทึกยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านใดในประวัติศาสตร์

ความเป็นมาและแหล่งกำเนิดของไก่ชนแต่ละสายพันธุ์


เหลืองหางขาว

ไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาว
ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช
ความเป็นมา
ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช
ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดาร เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ประเทศพม่า พระองค์ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลก เพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชจึงชนชนะ จนได้รับสมญาว่า "เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง" ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้า และทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยจัดประกวดครั้งแรกขึ้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2533 และในปี 2534 ได้จัดตั้ง ชมรมอนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นที่ ตำบลหัวรออำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกจนถึงปี 2542 ได้จัด ตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นทุกอำเภอ รวม 12 กลุ่มเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่ เป็นสมบัติคู่ชาติตลอดไป

ประวัติความเป็นมาของไก่พม่า

ประวัติความเป็นมาของไก่พม่า


 
หากจะย้อนรอยเข้าไปในอดีตนั้น คงไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าไก่ชนพม่ามีจุดเริ่มต้น อย่างไร เพราะตำรับ ตำราที่บันทึกไว้ในฝั่งพม่าค่อนข้างน้อย รวมทั้งในประเทศไทยเองก็เช่นกัน แทบจะไม่มีตำรา ว่าด้วยไก่พม่าแท้ๆ เลยแม้แต่เล่มเดียว เรื่องราวของไก่พม่าจึงเป็นเพียงเรื่อง เล่าขานสืบต่อกัน มาเท่านั้น
      อย่างไรก็ตามหากเราย้อนรอยประวัติศาสตร์ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น เราจะพบว่าพระองค์ ท่าน มีการนำไก่เหลืองหางขาวเข้าชนกับไก่โยดอกหมากของสมเด็จ พระมหาอุปราชาจากพม่า โดยไก่ที่มหาราช ชาวไทยนำไปนั้น เป็นไก่พันธุ์เหลืองหางขาวที่เก่ง กาจฉกรรจ์ยิ่งนัก สามารถชนกับไก่พม่าได้ครั้งละหลายๆ ตัว สร้างชื่อให้กับไก่ชนไทยเป็น อย่างมาก
 นั่นคือเกร็ดประวัติศาสตร์ที่พอจะให้เราจับเค้าโครงความเป็นมาของไก่ชนพม่าได้ว่าเป็น ไก่สายพันธุ์หนึ่ง
ที่นิยมเลี้ยงกันมากในหมู่ชาวพม่า และคงมีการเลี้ยงกันมาอย่างยาวนาน หลายร้อยปีเช่นเดียวกับไก่ชนไทย รวมทั้งยังเป็นไก่ชนที่พระยามหากษัตริย์แห่งพม่าให้ ความสนใจเลี้ยงและเล่นกันอย่างแพร่หลายไม่ต่างจาก
เจ้าเหนือหัวของไทยสมัยนั้นให้ ความสนใจเลี้ยงไก่เหลืองหางขาวเช่นเดียวกัน 
ดัง นั้นเมื่อเราอ่านประวัติศาสตร์ในช่วงนี้แล้ว คงต้องยอมรับว่า ไก่ชนพม่ามีความสนิท สนมแนบแน่นกับไก่ไทยมาโดยตลอด แม้ว่าในบางครั้งจะมีข้อขัดแย้งบ้างในบางสมัย แต่ก็ คงไม่สามารถแยกให้ไก่ชนไทยกับไก่ชนพม่าห่างหายกันไปได้ และถ้าหากจะเปรียบไป แล้ว ในบรรดาไก่ชนสายพันธุ์ของประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ เขมร
เวียดนาม รวมทั้งจีน เราจะพบว่า มีเพียงไก่พม่าเท่านั้นที่เราคุ้นเคยเคียงคู่กับไก่ไทยมาโดย
ตลอด และแม้ว่าจะมีไก่ไซ่ง่อนเข้ามาเทียบรัศมี แต่ส่วนใหญ่จะเป็น คนละรอยกัน และนิยม กันอย่างแพร่หลายในอีสานซึ่งเป็นคนละถิ่น ดังนั้นจึงมีเพียงไก่พม่าเท่านั้นที่ผูกพันแนบแน่น
มากับ ไก่ไทยตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี จากอดีตถึงปัจจุบัน
ลักษณะไก่พม่า


ไก่พม่า 

ไก่พม่าในปัจจุบัน นิยมเลี้ยงกันมากใน 18 จังหวัด แถบภาคเหนือตอนบนแล้วตอนล่าง

จังหวัดที่นิยมเลี้ยงไก่พม่าอย่างเป็นล่ำเป็นสัน คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ฯลฯ โดยส่วนมากไก่พม่าที่เลี้ยงกันจะเป็นลูกครึ่งพม่า-ไทย เป็นส่วนใหญ่ ภาคเหนือตอนบนเช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ฯ จะนิยมไก่พม่าลูกครึ่งรอยเล็ก คือตั้งแต่ 2.0 - 2.6 ส่วนภาคเหนือตอนล่างตั้งแต่จังหวัด อุตรดิตถ์ ลงไปจะนิยมไก่พม่าลูกครึ่งรอยใหญ่ขึ้น คือตั้งแต่ 2.6 เป็นต้นไป
ชั้นเชิงไก่พม่าตามที่ผู้เขียนคลุกคลีเลี้ยงไก่พม่ามา พอจะแบ่งชั้นเชิงไก่ โดยส่วนใหญ่ได้ดังนี้
  1. ถอยตี
  2. โยกตี
  3. ม้าล่อ
  4. สาดแข้งเปล่า
  5. ถอดหัวตี

ข้อดีข้อเสียของไก่พม่า
ข้อดี
1. ตีไว ปากไว ตีแม่น สาดแข้งเปล่าอาชีพ
ตีได้โดยไม่ต้องจิก
2.ตีได้เรื่อย ๆ ไม่มีหยุด มีก๊อก 1 23 มาเรื่อย ๆ ตีแผลเกิดบาดแผลเร็ว

ข้อเสีย
1. ตัวเล็ก เตี้ย รูปร่างไม่สวย โครงสร้างของร่างกายบอบบาง
2. มีไม่มากเชิง ส่วนมากเป็นไก่เชิงเดียว

ข้อควรคำนึงถึงในการเลี้ยงไก่พม่าเข้าตีในสนามชนไก่
1. เวลาปล้ำไก่พม่าอย่าปล้ำเกินเดือนละ ครั้ง ถ้ามากกว่านี้ไก่จะโทรม
ร่างกายฟื้นตัวไม่ทัน จะทำให้เสียไก่ได้
2.การออกกำลังควรงดการโยนเบาะ เพราะจะทำให้ไก่พม่ากล้ามเนื้อยึด แกร่ง นิ้ว
เล็บ อาจเจ็บ อาจหลุดได้วิธีการออกกำลังกายใช้วิธีการ ล่อบิน ล่อวิ่ง วิ่งสุ่ม
วิ่งสุ่ม ล่อเตะล่อสาดแข้ง ดีที่สุด
3. ควรฝึกสาดแข้งเปล่า โดยใช้วิธีพันปาก ทั้งตัวที่เลี้ยงและคู่ปล้ำ
เพื่อฝึกการสาดแข้ง แล้วนำมาฉะแข้งอาทิตย์ล่ะ วัน ครั้ง นาที
4.เวลาปล้ำควรให้ปล้ำกับไก่ทุกเชิง จะได้รู้ว่าไก่เราแก้เชิงไหนได้
และเชิงไหนที่แก้ไม่ได้ ถ้าเรารู้จะทำให้ได้เปรียบในการเปรียบไก่ในสนามชนไก่
ว่าควรจะเลือกตีกับไก่เชิงไหนไก่เราถึงจะมีโอกาสชนะ
หรือหลีกเลี่ยงตีกับไก่เชิงอะไร
5.อาหารบำรุงอย่าให้ประเภทไขมันมากนักเพราะจะทำให้อ้วน บินไม่ขึ้น
ควรให้เนื้อปลา สมุนไพร หญ้า
6.อย่าลงขมิ้นกับปูน เพราะจะทำให้รัดตัวไก่ ถ้าลงจะทำให้ไก่อึดอัด
ความคล่องแคล่วในการตีการสาด ลดน้อยลง
7.นำไปออกกำลังด้วยการว่ายน้ำ อาทิตย์ล่ะครั้ง ครั้งล่ะ 10 นาที ก่อนออกตี 9
วัน จะทำไก่สาดแข้ง ตีได้สุดแข้งขึ้น
แต่ระวังก่อนนำไปว่ายน้ำต้องหาพลาสติกมาคลุมปีกกันปีกโดยน้ำด้วย
เพราะปีกโดนน้ำบ่อย ๆ จะทำให้ปีกหัก แตก ได้ง่าย
8.น้ำสมุนไพรที่ใช้อาบไก่พม่านั้น ใช้บอระเพ็ด ต้นตะไคร้
และผลมะกรูดทั้งลูกไม่ต้องผ่า
9.ไก่หม่าอย่าเลี้ยงให้หนักมาก แข็งมาก เลี้ยงให้น้ำหนักพอดี ๆ
ทดสอบน้ำหนักไก่สม่ำเสมอว่าน้ำหนักเท่าไหร่ไก่ตีได้ดีที่สุด
ลองพิจารณา วิเคราะห์ นะครับ จากประสบการณ์ที่ผมเลี้ยงไก่พม่ามา 10 กว่าปี
วิธีนี้ใช้ไเลี้ยงไก่พม่าสำหรับตัวผมเหมาะสมที่สุดแล้วครับ
นอกจากลีลา ชั้นเชิง การวางแผล ที่เป็นมนต์เสน่ห์ดึงดูด นักเล่นไก่ชนแล้ว โดยส่วนตัวของผมเอง สรีระ ร่างกาย และองค์ประกอบด้านอวัยวะบางส่วน ก็จะเป็นส่วนช่วยเสริมความมั่นใจให้เรายามออกตีล่าเดิมพัน ได้ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ
*****เนื้อหาที่จะเอามาเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้ จึงเป็นเพียงประสบการณ์ของผมที่ผ่านมาเท่านั้น หาใช่ความเป็นจริงเสมอไป ถือว่าเอามาเล่าสู่กันฟังแล้วกันครับ*****

ไก่พม่ามีดีอะไร

ไก่พม่ามีดีอะไร

รูปร่างและขนาดไก่พม่า ไก่พม่าลูก 100 % มีขนาดเล็ก น้ำหนักประมาณ 2.00 - 2.50 ด้วยเหตูนี้เองจึงนิยมเล่นลูกผสมไทยบ้าง ผสมเวียดนามบ้าง หรือบางคนก็เล่นสามสายเลือดไปเลย ไก่พม่ามีลักษณะโดยทั่วไปที่สังเกตได้ คือ
  • - มีขนาดเล็ก กระดูกบาง
  • - หน้าเล็กแหลม ปากเป็นแนวเส้นตรง ปลายงุ้มเล็กน้อย
  • - หงอนมักเป็นหงอนแจ้แบบหงอนงู หรือหงอนชี้ฟ้า หรือหงอนนาคราช
  • - ตาโปน
  • - สนับปีกหนาและยาว
  • - แข้งเล็กและมักแข้งอิ่ม บ่งบอกว่าเป็นไก่ตีไว ตีแม่น
  • - เดือยส่ง
  • - ตุ้มหูมักขาว (คิดว่าคงสืบเชื้อสายมาจากไก่ป่า)
ชั้นเชิงลีลาแม่ไม้ไก่พม่า ไก่พม่าเป็นไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงชั้นยอด คือ ไม่ยอมปะทะกับคู่ต่อสู้ตรงๆ เพราะไก่พม่ามีขนาดเล็ก จึงเป็นไก่คอยฉวยโอกาส หรือไก่จังหวะสอง ชั้นเชิงไก่พม่าเป็นแบบ "สนลู่ลม" หรือต้นอ้อ ชั้นเชิงไก่พม่าที่เด่นๆ และนักเลงไก่ชอบมีดังนี้
  • - เชิงถอยดีดแข้งเปล่ารับโดยไม่ใช้ปากจิกคู่ต่อสู้
  • - เชิงเปลี่ยนหน้าตี คือ พอถูกกอดจะโยกหน้าหลบเข้าอีกข้าง
  • - เชิงชักลิ่มตี เมื่อถูกกอดขี่ทับจะเป็นไก่คออ่อนไม่ฝืนสู้คอ ถอดหัวออกตี
  • - เชิงลักตีขโมยตี เข้ามุดหัวติดดิน เผลอขึ้นมาตีแล้วลงไปซุกต่อ
  • - เชิงม้าล่อ เมื่อถูกกอดขี่จะออกวิ่งให้คู่ต่อสู้วิ่งไล่ตาม พอได้จังหวะจะหันมาดีดแข้งใส่ หรือเมื่อเห็นคู่ต่อสู้เหนื่อยก็จะหันกลับมาตี
ที่สำคัญไก่พม่าเป็นไก่ปากไว ตีนไว เดือยไว ถี่แม่น สาดทีสองที แทงหูแทงตาเลยก็มี และไก่พม่าเป็นไก่เจ้าเล่ห์ โดนตีนิด ตีหน่อยมักล้มลุกคลุกคลานเหมือนกับเจ็บเสียเต็มประดา แต่อย่าเผลอ บางทีถูกตีลงไปนอน พอคู่ต่อสู้เข้าไปใกล้ๆ มันจะสาดเข้าใส่ทั้งๆที่กำลังนอนอยู่ก็มี จุดด้อยของไก่พม่า โดยสรุปมีดังนี้
  • - กระดูกโครงสร้างเล็ก เมื่อเทียบกับไก่ไทยและไก่ไซง่อน ดังนั้นไก่พม่าเวลาถูกตีตัว ตีอัดสามเหลี่ยมหน้าอุด มักสู้ไม่ได้
  • - ไก่พม่าลูกหนุ่มใจไม่ค่อยเต็มร้อย ถูกตีเจ็บๆมักจะถอดใจหนีง่ายๆ
  • - ไก่พม่าเมื่อเจอไก่เชิงมุดมัดหัวต่ำ มักตีไม่ค่อยถูก แต่ถ้าเป็นไก่หัวสูงไก่พม่าจะชอบ เพราะสาดแข้งเปล่าได้ถนัด

ไก่พม่ามีดีอะไร

ไก่พม่ามีดีอะไร

รูปร่างและขนาดไก่พม่า ไก่พม่าลูก 100 % มีขนาดเล็ก น้ำหนักประมาณ 2.00 - 2.50 ด้วยเหตูนี้เองจึงนิยมเล่นลูกผสมไทยบ้าง ผสมเวียดนามบ้าง หรือบางคนก็เล่นสามสายเลือดไปเลย ไก่พม่ามีลักษณะโดยทั่วไปที่สังเกตได้ คือ
  • - มีขนาดเล็ก กระดูกบาง
  • - หน้าเล็กแหลม ปากเป็นแนวเส้นตรง ปลายงุ้มเล็กน้อย
  • - หงอนมักเป็นหงอนแจ้แบบหงอนงู หรือหงอนชี้ฟ้า หรือหงอนนาคราช
  • - ตาโปน
  • - สนับปีกหนาและยาว
  • - แข้งเล็กและมักแข้งอิ่ม บ่งบอกว่าเป็นไก่ตีไว ตีแม่น
  • - เดือยส่ง
  • - ตุ้มหูมักขาว (คิดว่าคงสืบเชื้อสายมาจากไก่ป่า)
ชั้นเชิงลีลาแม่ไม้ไก่พม่า ไก่พม่าเป็นไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงชั้นยอด คือ ไม่ยอมปะทะกับคู่ต่อสู้ตรงๆ เพราะไก่พม่ามีขนาดเล็ก จึงเป็นไก่คอยฉวยโอกาส หรือไก่จังหวะสอง ชั้นเชิงไก่พม่าเป็นแบบ "สนลู่ลม" หรือต้นอ้อ ชั้นเชิงไก่พม่าที่เด่นๆ และนักเลงไก่ชอบมีดังนี้
  • - เชิงถอยดีดแข้งเปล่ารับโดยไม่ใช้ปากจิกคู่ต่อสู้
  • - เชิงเปลี่ยนหน้าตี คือ พอถูกกอดจะโยกหน้าหลบเข้าอีกข้าง
  • - เชิงชักลิ่มตี เมื่อถูกกอดขี่ทับจะเป็นไก่คออ่อนไม่ฝืนสู้คอ ถอดหัวออกตี
  • - เชิงลักตีขโมยตี เข้ามุดหัวติดดิน เผลอขึ้นมาตีแล้วลงไปซุกต่อ
  • - เชิงม้าล่อ เมื่อถูกกอดขี่จะออกวิ่งให้คู่ต่อสู้วิ่งไล่ตาม พอได้จังหวะจะหันมาดีดแข้งใส่ หรือเมื่อเห็นคู่ต่อสู้เหนื่อยก็จะหันกลับมาตี
ที่สำคัญไก่พม่าเป็นไก่ปากไว ตีนไว เดือยไว ถี่แม่น สาดทีสองที แทงหูแทงตาเลยก็มี และไก่พม่าเป็นไก่เจ้าเล่ห์ โดนตีนิด ตีหน่อยมักล้มลุกคลุกคลานเหมือนกับเจ็บเสียเต็มประดา แต่อย่าเผลอ บางทีถูกตีลงไปนอน พอคู่ต่อสู้เข้าไปใกล้ๆ มันจะสาดเข้าใส่ทั้งๆที่กำลังนอนอยู่ก็มี จุดด้อยของไก่พม่า โดยสรุปมีดังนี้
  • - กระดูกโครงสร้างเล็ก เมื่อเทียบกับไก่ไทยและไก่ไซง่อน ดังนั้นไก่พม่าเวลาถูกตีตัว ตีอัดสามเหลี่ยมหน้าอุด มักสู้ไม่ได้
  • - ไก่พม่าลูกหนุ่มใจไม่ค่อยเต็มร้อย ถูกตีเจ็บๆมักจะถอดใจหนีง่ายๆ
  • - ไก่พม่าเมื่อเจอไก่เชิงมุดมัดหัวต่ำ มักตีไม่ค่อยถูก แต่ถ้าเป็นไก่หัวสูงไก่พม่าจะชอบ เพราะสาดแข้งเปล่าได้ถนัด
ชั้นเชิงไก่ที่สามารถปราบไก่พม่าได้ ต้องเป็นชั้นเชิงเดินอัด เดินบี้ ตีตัว ตีอัดเข้าบริเวณสามเหลี่ยม หรือหน้ากระเพาะ ลูกหน้าไว เท้าหุ่นตีตัว มักตีสวาปตีหลัง 
เรื่องไก่พม่าที่ควรรู้

การเลี้ยงไก่พม่าก่อนออกชนทำอย่างไร? เลี้ยงเหมือนไก่ไทยหรือเปล่า? เช่น ต้องลงขมิ้น ถ้าลงขมิ้นแล้วไม่บินจริงหรือเปล่า ? เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลายๆคนถามกันมากมาย คำตอบที่ได้ก็ไม่กระจ่างนัก
  • ก่อนอื่นลองมาวิเคราะห์ดูการเล่นและการเลี้ยงไก่พม่าเป็นอย่างไร และลูกผสมไก่พม่ามีเลี้ยงและเล่นกันมากในภาคเหนือของไทย เพิ่งจะแพร่หลายไปทั่วประเทศประมาณ 3-4 ปีมานี้เอง การชนไก่ทางภาคเหนือนิยมชนแบบปล่อยเดือย ไม่มีการพันพลาสเตอร์เหมือนภาคกลาง ดังนั้นไก่จึงใช้เวลาตีไม่มากอัน เพราะไก่ทนพิษบาดแผลไม่ได้ เพราะถูกแทงด้วยเดือย อย่างมาก 2-3 อัน ก็รู้ผลแพ้ ชนะแล้ว ดังนั้นทางภาคเหนือซึ่งส่วนใหญ่เป็นไก่ลูกผสมไทยพม่ากันมาก จะฟิตซ้อมหรือปล้ำประมาณ 2-3 อัน ก็นำไปชนกันแล้ว เขาจึงไม่นิยมลงขมิ้น
  • อีกประการหนึ่ง ในภาคเเหนืออากาศเย็นและหนาว ในหน้าหนาวหรือในช่วงเดือน 11-12 ถึงเดือนอ้าย เดือนยี่อากาสหนาวแดดไม่ค่อยมี ขืนกราดน้ำลงขมิ้น กราดแดดครึ่งวัน ตัวคงไม่แห้ง ไก่คงหนาวตายแน่ ส่วนใหญ่เขาจะอาบน้ำพอประมาณไม่ให้เปียกทุกขุมขนเหมือนภาคกลาง แต่จะเน้นการออกกำลัง เช่น วิ่งสุม ล่อวิ่ง และปล่อยเล้าหรือให้เดินตามบริเวณบ้านเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่นิยมลงขมิ้น
  • ส่วนในภาคกลาง มีการเลี้ยงฟิตซ้อมไก่ให้แข็งแรง เพราะต้องชนกันถึง 12 ยก ไก่ตัวหนึ่งกว่าจะได้ออกตีต้องปล้ำหรือซ้อมคุ่ไม่ต่ำกว่า 8-9 ยก บางตัวเกิน 10 ยก โดยเฉพาะไก่ถ่าย ถึงจะออกตี จึงนิยมลงขมิ้นเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแกร่ง ผิวหนา นอกจากลงขมิ้นแล้วยังประคบกระเบื้องอีกด้วย ดังนั้นไก่ทางภาคกลางที่ออกบิ่นแต่ละตัวจะมีผิวพรรณหนังหนาและแดง การลงขมิ้นจะทำให้ผิวไก่สวยขึ้น และขนสวยโดยเฉพาะไก่เหลืองหางขาว ขมิ้นไม่ได้ทำให้ไก่เก่งหรือไม่เก่ง หรือทำให้ไก่บินดีหรือไม่ดี
  • สรุป การลงขมิ้นไก่ ไม่มีผลต่อการบินของไก่ ว่าจะบินดีหรือไม่ดี ไก่จะบินดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับการฟิตซ้อมออกกำลังไก่มากกว่า ดังนั้นไม่ว่าจะเลี้ยงไก่อะไรก็แล้วแต่จะเป็นไก่ไทย ไก่พม่า จะลงขมิ้นหรือไม่ลงแล้วแต่คนเลี้ยงชอบ ไม่มีผลต่างกัน ข้อสำคัญอย่าให้มากเกินไป ถ้าลงขมิ้นมากเกินไปจะทำให้เนื้อและผิวไก่ตึงได้
  • ไก่ลูกผสมสายเลือดไทยพม่าและลูกผสมร้อยแบบไหนดี ขอแยกแยะข้อดีและจุดเด่นได้ดังนี้
  • พม่าลูก 100 % ลีลาชั้นเชิงฝีตีนถือว่ายอดเยี่ยม โดยเฉพราะตัวที่เก่งๆ ส่วนตัวที่ไม่เก่งไม่นับ แต่มีข้อเสีย คือ มีขนาดเล็กไม่รู้จะเลี้ยงไปตีกับใคร ?
  • ลูกผสมไทย-พม่า 75% (พม่า 75%) ลีลาฝีตีนชั้นเชิงจัด ใกล้เคียงกับไก่พม่าทีเดียว ใช้ตีกับไก่พม่าลูก 100% ได้ แต่รูปร่างโครงสร้างและขนาด เล็กไม่ถึง 3.00 กก. ยกเว้นบางตัว
  • ลูกผสมไทย-พม่า 50% ลีลาชั้นเชิงฝีตีนลดลง คือ ไม่จัดเท่ากับไก่พม่าลูก 100% แต่มีขนาดและโครงสร้างร่างกายโตขึ้นถึง 3.00 กก. หรือมากกว่า ยกเว้นบางตัวอาจจะลีลาชั้นเชิงใกล้เคียงไก่พม่าลูก 100%
  • ลูกผสมไทย-พม่า 25% (พม่า 25%) ลีลาชั้นเชิงฝีตีนจะลดลงไปอีก คือ คล้ายกับไก่ไทยมากขึ้น แต่มีขนาดที่โตขึ้น คือ มีน้ำหนักเกิน 3.00 กก. แต่มักเป็นไก่ปากไว ตีแม่นและแม่นตอ
สรุป จะนิยมเล่นลูกผสมไทย-พม่า 25% มากกว่าลูกผสมแบบอื่นๆ ปัจจุบันได้นำไก่พม่ามาผสมกับไก่สายเลือดไซง่อน ทำให้ลูกผสมที่ได้มีขนาดโตขึ้นอีก นอกจากนี้ยังมีการผสมแบบสามสายเลือด คือ ไทย พม่า ไซง่อน ชั้นเชิงฝีตีนมีดังนี้
  • - เป็นไก่ปากไว มีลูกสาดแข้งเปล่า ขยันตี
  • - เป็นไก่ตีแม่น ตีแผล
  • - เป็นไก่ตีลำโต
  • - ชั้นเชิงไม่มาก พอเอาตัวรอด

ประวัติความเป็นมา ไก่เหลืองหางขาว

ประวัติความเป็นมา ไก่เหลืองหางขาว

ประวัติความเป็นมา ไก่เหลืองหางขาว

คือ ไก่พื้นเมืองของไทยสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์กะตังอู หรือไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย เมื่อชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา ใครใคร่ทำอะไรก็ได้ ก็นำไก่มาเล่นชนไก่ จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่กระจายกันสู่หมู่ขุนนาง เจ้าขุน เจ้านาย และต่อมาได้พัฒนาเป็นกีฬาพระราชา เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น ไก่เหลืองหางขาวที่นิยมเป็นพันธุ์แท้ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่บ้านกร่าง บ้านหัวเทจังหวัดพิษณุโลกเพราะไก่พิษณุโลกเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมัยทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่าได้ทรงนำไก่เหลืองหางขาวจากพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองพระราชบิดาของพระองค์ไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา
ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่ฉลาดปราดเปรียว อึด ทน เป็นไก่เชิงแปดกระบวนท่า ไก่เหลืองหางขาวจึงชนะไก่พม่ามาตลอด ครั้งหนึ่งไก่ไทยชนกับไก่พม่าหน้าพระที่นั่ง ไก่เหลืองหางขาวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตีไก่เหลืองโยดอกหมากหางดำของพระมหาอุปราชาคอหักล้มลงและแพ้ ทำให้พระมหาอุปราชทรงอับอาย กล่าวแก้ว่า ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงกล่าวตอบโต้ด้วยความภาคภูมิว่า "ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีอย่างกีฬาในวังเหมือนวันนี้เลย ตีพนันเอาบ้านเมืองกันก็ยังได้" จากพระราชดำรัสที่ทรงกล่าวโดยไม่สะทกสะท้านและมั่นพระทัยในไก่เหลืองหางขาวของพระองค์ ทำให้พระมหาอุปราชาทรงเกรงกลัว หาหนทางกลั่นแกล้งและกำจัด เป็นผลทำให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ ไก่เหลืองหางขาวจึงมีชื่อเสียงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไก่เจ้าเลี้ยง” และ “ไก่พระนเรศวร” ซึ่งปัจจุบันชาวพิษณุโลกมีความภาคภูมิใจ และหวงแหนในสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์นี้มาก จึงมีการอนุรักษ์และพัฒนาไก่สายพันธุ์นี้มาโดยตลอด ในประเทศที่มีกีฬาชนไก่จะรู้จักไก่ไทยเหลืองหางขาวเป็นอย่างดี

ประวัติการนำเข้า "ไก่ชนพม่าลูกนอก"


 จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาของการนำเข้าไก่พม่าลูกนอก เมื่อย้อนอดีตกลับไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 หรือประมาณ18ปีที่แล้ว ในจังหวัดแพร่คงจะไม่มีใครที่จะไม่รู้ กำนันหมู ซึ่งท่านเป็นคนรุ่นแรกๆที่ได้นำเข้าไก่ชนสายพันธุ์พม่าลูกนอกเข้ามาเล่นในจังหวัดแพร ่
เมื่อสมัยปี พ.ศ. 2534 ตนได้มีโอกาสไปค้าขายเสื้อ-ผ้าที่ภาคเหนือ ตรง อ.แม่สาย จ.เชียงราย ก่อนหน้านั้นตนต้องเลิกเลี้ยงไก่ไปพักหนึ่งเพราะต้องทำมาหากินเป็นกิจจะลักษณะ และจากจุดนี้นี่เองที่เป็นเรื่องราวของไก่พม่าลูกนอกได้บังเกิดขึ้นกับตน เมื่อได้รู้จักกับพ่อค้าชาวไทยใหญ่คนหนึ่งซึ่งได้มอบไก่พม่าให้ ไก่พม่าตัวนี้มีสีขนออกโทนแดงนกกรด รูปร่างบอบบางตัวเล็ก (เรียกได้ว่า ขี้เหร่มาก) เมื่อนำเอาไก่ตัวนี้มาเลี้ยงตีที่ซุ้มของตัวเองยังหวัดแพร่ ไฟท์แรกออกชนที่สนามกีฬาชนไก่ของ พ่อเลี้ยงเหมี่ยน ปรากฏว่าได้รับชัยชนะอย่างสวยงามเป็นที่ฮือฮาของเซียนไก่เป็นอย่างมาก หลังจากนั้นตนก็ได้ติดต่อสั่งไก่ชนพม่าจากชาวไทยใหญ่เป็นเวลาติดต่อกันหลายปี ไก่ตัวที่สร้างชื่อเสียงให้ตนในสมัยนั้น ยังเป็นไก่นำเข้าชื่อไอ้เต่า ไก่ตัวนี้เป็นไก่มีไอคิวดีมากเรียกได้ว่าสอนได้เรื่องมีอยู่ว่าไอ้เต่าเป็นไก่ที่มีล ีลาหน้าโด่ๆเก่งหน้าหงอน เวลามันถอยติดสังเวียนมันมักจะไม่ค่อยย้ายตัวมันออกชอบพิงสังเวียนปล่อยให้คู่ต่อสู้ ตีอยู่เสมอ ตอนฝึกตนได้ใช้ไม้เรียวเฆี่ยนตีไอ้เต่าเวลามันพิงสังเวียนพอไอ้เต่ารู้สึกเจ็บมันก็จ ำว่าเวลามันพิงมันจะถูกตีหลังจากนั้นไอ้เต่าเลยไม่พิงสังเวียนอีกหลังจากนั้นได้นำมั นเดินสายตีไปยัง จังหวัดลำปาง ในสมัยนั้นบ่อนที่ดังที่สุดคงจะไม่สนามชนไก่บ้านพระบาท จ.ลำปาง และได้ประกบตีกันที่เดิมพัน110,000บาท ชนกับไก่ลำพูนซึ่งเป็นไก่ป่าก๋อย และไอ้เต่าก็ไม่ทำให้ตนต้องผิดหวังชนะ2อันกะหน่อย   

ประวัติความเป็นมาของ ไก่เหล่าป่าก๋อย

ประวัติความเป็นมาของ ไก่เหล่าป่าก๋อย

ไก่ป่าก๋อย

ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยนั้น เราพอทราบกันอยู่แล้วว่ามีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย จังหวัดลำพูน แต่ต้นกำเนิดรากเหง้าเป็นมากันอย่างไร วันนี้เราจะลองไปสืบประวัติกันคร่าวๆ นะครับ ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยเริ่มเป็นที่รู้จักในภาคเหนือเมื่ออดีตกาลประมาณปี พ.ศ.2526-2527 (เกือบ 30 ปีมาแล้ว ) แต่ก่อนหน้าที่ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยจะเกิดขึ้น ในยุคนั้นเป็นช่วงที่ไก่พม่าเข้ามาเฟื่องฟูทางภาคเหนือของประเทศ

ด้วยความที่การชนไก่ทางภาคเหนือเป็นการชนแบบปล่อยตอ ตอที่ถูกหลาวแต่งจนแหลมคม ด้วยความที่ไก่พม่าเป็นไก่อาวุธดี ตีเร็ว มีแม่น ใช้ตอแทงได้ดี ตีแผลวงแดงเป็นหลัก ตีหู ตีตา แถมด้วยลีลาที่หลุดลอดถอด ถอย รำวง ม้าล้อ ว่ากันง่าย ๆ ก็คือมวยวงนอก ชกแล้วถอยหลอกล่อจนคู่ต่อสู้ที่เป็นไก่ไทยในยุคนั้นสู้ไม่ได้ แพ้เป็นส่วนมาก ชนะน้อย ไก่ไทยทางภาคเหนือตอนนั้นส่วนใหญ่อาจสรุปได้ว่ามีอยู่ 2 เชิงชน เชิงชนแรกจะเป็นไก่ ยืนตี จิ้มตี ปากไว ตีเม่น ตีวงแดง ซึ่งทางภาคกลางเราเรียกว่าไก่โจ้ ยืนแลกแข้งกัน เชิงชนที่ 2 ก็มีลักษณะเป็นไก่เชิง มุดมัด กอดตีลักษณะคล้ายไก่ตราด ทั้งสองลักษณะนี้ เป็นไก่พื้นเมืองของทางเหนือที่คนเหนือเรียกว่า ไก่เมือง ขนาดรอย ก็ส่วนใหญ่ก็มีน้ำหนักอยู่ที่ 2.0 – 2.5 กก.ขาดเกินก็ไม่มากจากนี้สักเท่าไหร่นัก
ไก่ป่าก๋อย
จากข้อมูลที่ว่ากันว่ามีการนำไก่จันทบุรีหรือไก่ทางภาคตะวันออกของไทยเราที่มีลักษณะเป็นไก่เชิงเข้าผสมกับไก่เมืองเหล่านี้ แล้วเกิดไก่เหล่าป่าก๋อยขึ้นมา ก็อาจมีส่วนถูกอยู่บ้างแต่ก็ไม่แน่ชัดนักครับ เพราะรุ่นแรกๆที่ออกมาถือว่าใช้ได้ แต่รุ่นหลังมาก็เริ่มแย่ลง กระทั่งต่อมาอีกหลายปี เมื่อไก่ผสมข้ามพันธุ์กันไปมาระหว่าง 3 สายพันธุ์ที่กล่าวมาข้างข้นอยู่ระยะหนึ่ง อาจเป็นเพราะเลือดความเป็นนักสู้ในบรรพบุรุษไก่ไทยที่ถูกไก่พม่ารุกรานมานานก่อให้เกิดไก่ที่มีลักษณะมีเชิงชนแบบไก่เชิง มุด มัดตี แต่ที่เพิ่มเติมเข้ามาก็ลักษณะเป็นไก่ที่ปากบอน จิกได้ตรงไหน ตีตรงนั้น คล่องแคล่ว ว่องไว ตีตัวเป็นหลัก ไม่ต้องห่วงหาหัวแล้ว แถมจิกตีแล้วขนหลุดติดปากมาด้วย พอลองเลี้ยงออกชนกับไก่พม่า ปรากฏว่า ไก่พม่าแพ้อย่างราบคาบ ธรรมชาติช่วยเติมเต็มอย่างน่าอัศจรรย์ครับ ไก่พม่าเป็นมวยวงนอก เรียกได้ว่าเป็นมวยสากล ต่อยหนี แย็บหนี แต่ไก่ที่เกิดขึ้นมาเป็นไก่วงใน หรือมวยวงใน เป็นมวยเข่าไร้น้ำใจ คว้าได้เป็นแทง คว้าได้เป็นแทงครับพี่น้อง แต่ตอนนั้นเขาก็ยังไม่ได้เรียกว่าไก่เหล่าป่าก๋อยนะครับ ไก่ลักษณะนี้เริ่มสร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็น พากันโจษจันกันไปทั่ว ว่าไก่อะไรจิกตีไม่เลือก แถมเอาชนะไก่พม่าได้อย่างสวยงามอีกด้วย ในช่วงแรกการเกิดไก่ที่มีลักษณะเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกตัว หากแต่เกิดขึ้นกับไก่บางตัวเท่านั้นและยังไม่ใช่พันธุ์แท้ครับ

ไก่ป่าก๋อย
แต่โดยธรรมชาติของนักเพาะพันธุ์ไก่ชนเมื่อพบเห็นไก่ตัวใดชนชนะก็มักอยากเอาตัวเมียมาผสมด้วยและหากตัวใดออกมากัดตีไม่เลือก เชิงชนดี ตีลำหนัก ชนชนะก็เก็บเอาไว้ทำพ่อพันธุ์ แม่ไหนให้ลูกออกมามีลักษณะอย่างที่ว่าก็เก็บเอาตัวมัน ลูกสาวมันเอาไว้ทำพันธุ์ต่อจากไก่ที่คาบบ่าตีตัว จิกตีไม่เลือกจากหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อยหมู่บ้านเดียวผสมไขว้กันไปมา พี่น้องผสมกัน ปู่ผสมหลาน ผสมตามแบบชาวบ้านที่อยากให้ไก่เลือดนิ่ง และอาจเกิดจากพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะดังกล่าวมีน้อยตัวในช่วงแรก ทำให้เกิดการผสมแบบเลือดชิดบ้าง(อินบรีด) ผสมในวงศ์ตระกูลเดียวกัน(ไลน์บรีดบ้าง) วันเวลาผ่านไปกว่า 10 ปี ไก่ลักษณะดังกล่าว ก็เริ่มนิ่งลงเหล่า เริ่มที่จะสามารถส่งยีนเด่น ๆ ที่เป็นลักษณะไก่กัด คาบบ่า ตีตัว กัดไม่เลือกที่ได้แล้ว ถึงเวลานี้ (ราวปี พ.ศ.2526) สายพันธุ์แท้อีกสายพันธุ์หนึ่งของไทยก็เริ่มเกิดขึ้น

ผมอยากจะเอ่ยถึงบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วท่านหนึ่งที่ทำให้ไก่เหล่าป่าก๋อยเป็นที่รู้จัก เขาคือ นายเดช ปาปวน เป็นชาวบ้านเหล่าป่าก๋อย และเป็นหลานของกำนันแก้ว ปาปวนเป็นผู้ที่ไก่ชนที่มีลักษณะกัดตี จิกตีไม่เลือก คาบบ่าตีลำตัวเป็นหลัก ออกชนตามสนามชนไก่แถวจังหวัดเชียงใหม่ จนเซียนไก่ผู้พบเห็น ประทับใจเชิงชนของไก่ดังกล่าว และสอบถามกันว่าไก่อะไรจิกตีไม่เลือก ไม่มีใครว่าเป็นไก่อะไร รู้แต่ว่ามันมาจากหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย ชาวไก่ชนจึงเรียกไก่ที่มีลักษณะเชิงชนอย่างนี้สั้น ๆ ว่า “ไก่เหล่าป่าก๋อย”
ไก่ป่าก๋อย

วิธี ดูสกุลไก่พม่า

วิธี ดูสกุลไก่พม่า

วิธี ดูสกุลไก่พม่า นี่เป็นหัวข้อที่ผู้เขียนลืมมานานว่าจะเขียนหลายครั้งแต่ก็ลืม..วันนี้เลยขอ อธิบายสั้น ๆ เพื่อมือใหม่จะได้หัดเรียนรู้ครับ เกี่ยวกับไก่พม่า

ไก่พม่าดั้งเดิมนั้น มีลักษณะที่เด่นชัดเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ไก่ชนที่เหมือนไก่ทั่วไป เพราะถือเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่สืบเชื้อสายมายาวนาน มีพันธุกรรมที่โดเด่นชัดเจน ดังนั้นไก่พม่าที่สกุลสูง ๆ บางท่านอาจละเลยลักษณะสำคัญไปจนทำให้การพัฒนาของเราผิดพลาดขาดทิศทาง ยิ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าไก่พม่าเลือดสูงไม่้อาจจะครองความยิ่งใหญ่ในสังเวียนได้ ในขณะที่พม่าลูกผสมสามารถยืนได้อย่างทรนง ดังนั้นพม่าที่ชนกันในปัจจุบันจึงเรียกว่าร้อยละ 90 เป็นลูกผสม

เมื่อ ลูกผสมครองเมือง..เราในฐานะคนพัฒนาคนเลี้ยงก็ต้องดูออกว่าสกุลลุนชาติของ พม่าตัวไหนเลือดเข้มตัวไหนเลือดไม่เข้ม ..เพื่อจะพิจารณาต่อยอดได้ลูก ..เพราะถ้าเชื้อพม่าน้อยไปลีลาชั้นเชิงก็แปรเปลี่ยนไปมากทีเดียว..ดังนั้น ท่านก็ต้องถามตัวเองว่าชอบแบบไหน..อะไรคือสิ่งที่เราต้องการพัฒนา

เมื่อเราได้ไก่พม่ามา 1 ตัว เราก็โปรดพิจารณาว่าไก่พม่าที่เราได้มาสกุลสูงเพียงใด โดยมีข้อพิจารณาดังนี้นะครับ
1. ดูรูปทรง ถ้ารูปทรงเป็นไก่หางหกอกตั้ง มีแนวโนมไปทางไก่พม่ามากครับ พวกนี้จะจับไม่ยาว ลักษณะลำตัวกลม ๆ หน่อยครับ (ยกเว้นการยืนของแม่สะเรียงนะครับ)
2. ดูนิสัย ถ้าเปรียวมาก ชอบนอนที่สูง แสดงว่ามีเชื้อไก่พม่าสูงครับ
3. ดูน้ำขน ถ้าน้ำขนมันวาวแสดงว่าเลือดพม่า ขนพม่าแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่มีขนดก และกลุ่มที่มีขนน้อยครับ แต่ที่เหมือนกันคือนำขนจะวาว
4. ดูลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกความเป็นพม่าสูงคือ เล็บดำ เดือยดำ อันนี้คือลักษณะไก่พม่าเลือดสูงโดยแท้
5. ดูใบหางจะเป็นใบหางก้านใหญ่กระดกขึ้นและโค้งลงพองาม ปลายหางไม่แหลมเล็ก ถ้าหางตรง ๆ แบบไทยเราก็สันนิษฐานก่อนว่าลูกผสม ปลายหางแหลมยิ่งลูกผสม ชัดเจน (ยกเว้นลักษณะหางของแม่สะเรียงนะครับ)
6. ดูตาและดวงตา จะสดใสลอยกลอกกลิ้ง ถ้าตาลึกไม่ใช่ไก่พม่าครับ
7. ดูสีขนตามตัว ถ้ามีสีตามตัวแทรกเป็นสีเดียวกับสีสร้อยปรากฎชัดเจนแสดงว่าเลือดพม่าสูงครับ

ประวัติการนำเข้า "ไก่พม่าลูกนอก" แห่งแรกของจังหวัดแพร่

ประวัติการนำเข้า "ไก่พม่าลูกนอก" แห่งแรกของจังหวัดแพร่

ประวัติการนำเข้า "ไก่พม่าลูกนอก" แห่งแรกของจังหวัดแพร่
          จังหวัด แพร่เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาของการนำเข้าไก่พม่าลูกนอก เมื่อย้อนอดีตกลับไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 หรือประมาณ18ปีที่แล้ว ในจังหวัดแพร่คงจะไม่มีใครที่จะไม่รู้ “กำนันหมู” ซึ่งท่านเป็นคนรุ่นแรกๆที่ได้นำเข้าไก่ชนสายพันธุ์พม่าลูกนอกเข้ามาเล่นในจังหวัดแพร ่
“เมื่อ สมัยปี พ.ศ. 2534 ตนได้มีโอกาสไปค้าขายเสื้อ-ผ้าที่ภาคเหนือ ตรง อ.แม่สาย จ.เชียงราย ก่อนหน้านั้นตนต้องเลิกเลี้ยงไก่ไปพักหนึ่งเพราะต้องทำมาหากินเป็นกิจจะ ลักษณะ และจากจุดนี้นี่เองที่เป็นเรื่องราวของไก่พม่าลูกนอกได้บังเกิดขึ้นกับตน เมื่อได้รู้จักกับพ่อค้าชาวไทยใหญ่คนหนึ่งซึ่งได้มอบไก่พม่าให้ ไก่พม่าตัวนี้มีสีขนออกโทนแดงนกกรด รูปร่างบอบบางตัวเล็ก (เรียกได้ว่า “ขี้เหร่”มาก) เมื่อนำเอาไก่ตัวนี้มาเลี้ยงตีที่ซุ้มของตัวเองยังหวัดแพร่ ไฟท์แรกออกชนที่สนามกีฬาชนไก่ของ “พ่อเลี้ยงเหมี่ยน” ปรากฏว่าได้รับชัยชนะอย่างสวยงามเป็นที่ฮือฮาของเซียนไก่เป็นอย่างมาก หลังจากนั้นตนก็ได้ติดต่อสั่งไก่พม่าจากชาวไทยใหญ่เป็นเวลาติดต่อกันหลาย ปี ไก่ตัวที่สร้างชื่อเสียงให้ตนในสมัยนั้น ยังเป็นไก่นำเข้าชื่อไอ้เต่า ไก่ตัวนี้เป็นไก่มีไอคิวดีมากเรียกได้ว่าสอนได้เรื่องมีอยู่ว่าไอ้เต่าเป็น ไก่ที่มีล ีลาหน้าโด่ๆเก่งหน้าหงอน เวลามันถอยติดสังเวียนมันมักจะไม่ค่อยย้ายตัวมันออกชอบพิงสังเวียนปล่อยให้ คู่ต่อสู้ ตีอยู่เสมอ ตอนฝึกตนได้ใช้ไม้เรียวเฆี่ยนตีไอ้เต่าเวลามันพิงสังเวียนพอไอ้เต่ารู้สึก เจ็บมันก็จ ำว่าเวลามันพิงมันจะถูกตีหลังจากนั้นไอ้เต่าเลยไม่พิงสังเวียนอีกหลังจาก นั้นได้นำมั นเดินสายตีไปยัง จังหวัดลำปาง ในสมัยนั้นบ่อนที่ดังที่สุดคงจะไม่สนามชนไก่บ้านพระบาท จ.ลำปาง และได้ประกบตีกันที่เดิมพัน110,000บาท ชนกับไก่ลำพูนซึ่งเป็นไก่ป่าก๋อย และไอ้เต่าก็ไม่ทำให้ตนต้องผิดหวังชนะ2อันกะหน่อย 

การเลี้ยงไก่พม่าตอนที่2

การเลี้ยงไก่พม่า
การเลี้ยงไก่พม่า
เทคนิคการเลี้ยงไก่สายเลือดพม่านั้น เป็น ที่ยอมรับกันในทุกวันนี้ว่า ไก่ที่เลี้ยงออกชนกันตามสนามต่างๆ ทั่ว ประเทศ เป็นไก่ลูกผสมและมีสายเลือดไก่พม่าเกิน 50 %ด้วยกัน ส่วนจะมีเลือดพม่ามากแค่ไหนนั้น บ้างน้อยบ้างมากก็แล้วแต่สูตรของใครของมันว่ากันไป บางคนก็มีสายเลือดพม่าเกิน 50%ขึ้นไปซึ่งส่วนมากจะเก่ง บางคนต่ำกว่า 50 %ลงมา การเลี้ยงไก่พม่าบางตัวก็ดูไม่รู้ว่าเป็นไก่ไทยแท้หรือลูกผสมกันแน่ ไก่พม่าหรือไก่สายเลือดพม่าเดิมทีก็เล่นกันทางภาคเหนือของประเทศ ไทยซะเป็นส่วนใหญ่ เท่าที่ผมรู้เขาเลี้ยงกันไม่นาน ปล้ำ 2-3 ครั้งก็นำออกชนกันแล้ว ไม่ปล้ำมากอันเพราะจะทำให้ไก่ซ้ำ เหมือนการเลี้ยงไก่ทางภาคกลาง กว่าจะออกชนต้องปล้ำไม่น้อยกว่า 8-9 อันขึ้น การเลี้ยงไก่พม่าทางภาคเหนือเขาเลี้ยงกันไม่นานก็ออกชน กะให้แข็งในสังเวียน พอตีไปได้1-2 เที่ยว ไก่ก็เริ่มแข็งและตีราคาแพงได้ ดังนั้นการเลี้ยงไก่พม่าหนุ่มๆ จึงมีสถิติชนะหลายไฟท์ติดต่อกัน เท่า ที่สอบถามคนเลี้ยงไก่พม่าดู เขาบอกว่าถ้าเลี้ยงนานหรือปล้ำมากมันจะ กรอบ ยิ่งฟิตซ้อมหนักจะทำให้ เนื้อตัวของมันตึง ไม่ค่อยตีไก่ ซึ่งตอนแรกๆ ผมก็ไม่เชื่อ แต่จากการเลี้ยงไก่พม่ามาหลายตัว ปรากฏว่าไก่พม่า ตัวที่มีฝีตีนดีๆ พอฟิตจัดเข้ามันจะไม่ค่อยตีไก่ พอปล่อยให้เดินกรง เล่นฝุ่นเล่นดิน จับมาปล้ำใหม่ ปรากฏว่ากลับ ตีดีเหมือนเดิม ซึ่งผมได้ทดลองหลายครั้งหลายตัวก็มีผลคล้ายกัน ดังนั้นเทคนิคการเลี้ยงไก่พม่า ควรทำดังนี้
1. การออกกำลังกาย ควรให้ปฏิบัติดังนี้ - บินกล่อง - วิ่งสุ่ม - ปล่อยกรงกว้างๆ และมีคอนให้บิน แต่อย่าให้สูงมากนัก
2. การลงนวม ต้องดูนิสัยไก่ บางตัวไม่ชอบและไม่ควรลงนวมบ่อย ให้เหมาะสมควร 7-10 วันต่อครั้ง
3. การล่อ ต้องดูนิสัยไก่ หากไม่จำเป็นจริงๆ เช่นออกกำลังโดยวิธีอื่นไม่เอา จึงค่อยใช้วิธีล่อ เพราะไก่พม่า ไม่ชอบให้คู่ต่อสู้อยู่สูงกว่า
4. การลงขมิ้น หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรลง อาจจะลงครั้งแรกทั้งตัวสัก 1 ครั้ง ก็น่าจะพอ หลังจากนั้น หากยังอยากลงก็ควรทาเฉพาะใบหน้าและหน้าอกก็พอ นอกจากนี้มีข้อควรจำสำหรับการเลี้ยงไก่พม่า หรือไก่ที่มีสายเลือดพม่าตั้งแต่ 50 % ขึ้นไปคือ 1. อย่าปล้ำหรือลงนวมกับคู่ต่อสู้ที่เป็นไก่ถ่าย เพราะหากมันถูกตีเจ็บมันจะเข็ดและพาลดีดไก่ไปเลย 2. อย่าปล้ำหรือซ้อมคู่มากเกินไป 5-6 ยก ก็น่าจะพอ โดยครั้งแรกหาคู่ต่อสู้ใหม่ๆ เหมือนกัน ผิวพรรณดีกว่า อย่าหาญตี มิฉะนั้นอาจต้องมานั่งเสียใจ 3. ไก่พม่า ถ้าหัวปีกเริ่มโรย หรือขนปีกเคลื่อนขยายหรือเริ่มถ่าย หรือขนหมดมัน ไม่ควรนำออกตี เพราะมันจะอยู่ในช่วงเริ่มหลุดถ่าย ใจน้อย และหนีง่าย
4. ไก่พม่า เวลาซ้อมหากเจอคู่ต่อสู้ตีตัว ตีเข้าหน้าอุดสามเหลี่ยมและหนอกคอ ควรรีบจับยอม มิฉะนั้นคราวต่อไปมันจะเข็ดและดีดไก่ เพราะแผลฝาก
5. การเล่นไก่พม่า ควรเล่นในช่วงที่มันกำลังสดและมีอายุชนขวบแล้วดีที่สุด เพราะจิตใจมันจะ มั่นคงกว่าตอนที่เป็นหนุ่ม 8-9 เดือน
ไก่พม่าหลักๆก็มีเท่านี้แหละครับ

จุดเด่น จุดด้อยของไก่ชนพม่า

 จุดเด่น จุดด้อยของไก่ชนพม่า
เนื่องจากไก่พม่าซึ่งมีสัญชาตญาณของไก่ป่าอยู่สูง ทำให้ไก่พม่านั้นมีความคล่องแคล่วและปราดเปรียวอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะนำ มาเลี้ยงอยู่ก็ตาม และในบางตัวขณะกราดน้ำต้องเอาเชือกผูกที่ขาก็มี แต่ไกพม่าก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบของคนที่ชอบไก่พม่ากันอยู่ เพราะมีสีที่สวยและมีลูกตีเด็ดขาด ซึ่งบางครั้งถึงแม้ตัวละเล็กกว่า ไก่พม่าก็สามารถที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ที่ตัวใหญ่ๆ กว่า ได้
***** จุดเด่นของไก่พม่า*****
***** ไก่พม่าเป็นไก่ที่ตีหน้าตรงได้ดี ***** เชิงตีหน้าตรงของไก่พม่านี้ จะเรียกว่าตีหน้าตรงอาชีพเลยก็ได้ หากคู่ต่อสู้เข้ามาโดยไม่ ระวัง มักจะถูกแข้งหน้าตรงเข้าเต็มๆ ทุกครั้ง
***** สาดแข้งเปล่าเก่ง***** ไก่พม่าเป็นไก่ที่มีลูกนำที่ดี หรือสาดแข้งเปล่านั้นเอง ลูกสาดแข้งเปล่านี้ถือว่าเป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ ไก่พม่าที่ไม่ต้องใช้ปากจับก่อนที่จะออกแข้ง ทำให้ได้เปรียบไก่ไทยที่บางครั้งต้องใช้ปากจับจึงจะตีได้
***** วางแผลได้แม่น ***** จุดนี้ถือว่าเป็นเสน่ห์ที่ดีที่สุดของไก่ชนพม่า เพราะแผลที่ไก่พม่าตีนั้นจะเป็นแผลที่เป็นจุดตายทั้งสิ้น ไม่ ว่าจะเป็นบริเวณสามเหลี่ยมซอกคอ ที่มักจะทรุด บริเวณคอที่มักบวมหรือหัก บริเวณคอเชือด บริเวณวงแดง และดวงตา ซึ่งช่วยให้ เกิดการแพ้ชนะได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเสน่ห์การตีแม่นเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ไก่พม่าได้รับความชื่นชอบจากเซียนไก่ชนทั่วๆ ไปอย่าง ล้นหลาม
***** มีปีกที่ยาวและขนใยปีกเหนียวกว่าไก่ไทย***** ด้วยสัญชาตญาณคล้ายไก่ป่านี้เอง ทำให้ปีกของไก่ชนพม่ามีความยาวกว่าไก่ ไทย เพราะไก่พม่าต้องอาศัยการบินมากกว่า และแน่นอนกว่า คุณสมบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่งต่อการบินในขณะชน นอกจาก นี้แล้วใยปีกของไก่ชนพม่ายังเหนียวกว่าไก่ไทยอีกด้วย ทำให้คู่ต่อสู้เข้ามัดปีกไม่ทะลุ จึงเป็นข้อดีอีกทางหนึ่งในการป้องกันตัว
*****ไก่พม่าจะมีก๊อกสองก๊อกสามตลอด***** อันนี้ก็นับเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของไก่ชนพม่า เพราะบางทีถูกตีล้มคว้ำล้มหงาย แต่ ไก่พม่าก็สามารถจะเปิดก๊อกสองขึ้นมาติดคู่ต่อสู้ได้ตลอดเวลา
*****ไก่พม่าจะเป็นไก่ที่หลบหลีกเก่ง***** ไม่ค่อยเข้าเชิง ซึ่งลีลาเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ค่อยให้ใครเข้าขี่เชิงนัก ยกตัว อย่างเช่น หากเจอไก่กอด ไก่พม่าจะหลบหลีกด้วยการถอดหัวหรือชักลิ่มหนีการกอด หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการถอยและสาดแข้งเปล่า ซึ่งเป็นลีลาที่ถนัดอย่างมากทีเดียว

***** จุดด้อยของไก่พม่า******
ไก่พม่าจะมีโครงกระดูกเล็ก ไก่พม่าส่วนใหญ่มีเชื้อสายจากไก่ป่า ดังนั้นจึงต้องการความปราดเปรียว โครงสร้างต่างๆ โดย เฉพาะกระดูกจึงค่อนข้างเล็ก บางครั้งเจอแข้งลำโตๆ เข้าไปก็อาจถึงหักได้ แต่ในปัจจุบันนั้นมีอาหารเสริมประเภทแคลเซียมออก จำหน่าย ดังนั้นในเรื่องของโครงกระดูกจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
***** ยืนดินไม่แน่น ***** สิ่งที่เซียนหลายๆ คนรู้สึกขัดใจเมื่อดูลีลาของไก่พม่าก็คือการโอนเอนไปมา หรือที่ภาษาเซียนเราเรียกว่า "ยืนดินไม่แน่น" นั่นเอง ซึ่งการยืนดินไม่แน่นนี้ บางครั้งอาจจะบั่นทอนความแรงของแข้งที่ดีดขึ้นไปอย่างช่วยไม่ได้ แต่ใน ปัจจุบันนี้ หากเป็นไก่พม่าลูกร้อย รอยเล็ก เรายังคงเห็นอาการอย่างที่ว่านี้อยู่ แต่ถ้าหากเป็นลูกผ่านหรือลูกครึ่งอาการยืนดินไม่ แน่นนี้จะหายไปเยอะจนเกือบจะไม่เหลือให้เห็นเลย
*****หนีง่ายโดยไม่บอกอาการ ***** ข้อนี้เป็นข้อเสียที่สำคัญที่สุดของไก่พม่า โดยลักษณะจะหนีโดยไม่บอกไม่กล่าวเลยทีเดียว บางครั้งตีเขาอยู่ดีๆ จนคู่ต่อสู้จะนอนอยู่แล้วแต่ตัวเองกลับถอดใจบ่ายหัวหนีหน้าตาเฉย ซึ่งอาการที่ว่านี้ทำเอาเซียนประเป๋าฉีกมา นักต่อนักแล้ว แต่ก็มีเหมือนกันที่พม่าบางเหล่ามักจะยอมตายโดยไม่หนี ขึ้นอยู่กับสายเลือดเป็นสำคัญ หรือหากว่ามีการผสมข้าม พันธุ์กันมา อาการถอดใจอย่างนี้ก็น่าจะลดน้อยลงไป

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

เรื่องที่ 1 ลักษณะของโรงเรือนไก่พื้นเมือง
         โรงเรือนการเลี้ยงไก่พื้นเมืองนั้น ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวแน่นอน โรงเรือนอาจจะทำเป็นเพิงหมาแหงนกลาย แบบหน้าจั่วและอื่น ๆ การที่จะเลือกแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง วัสดุอุปกรณ์ ต้นทุน ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่ในชนบทจะเลี้ยงไก่พื้นเมืองในบริเวณบ้านและทำโรงเรือนไว้ใต้ถุนบ้าน หรือใต้ยุ้งฉางการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบนี้จะหวังผลแน่นอนไม่ได้ ไก่พื้นเมืองบางรุ่นรอดตายมาก บางรุ่นอาจตายหมด มีจำนวนน้อยรายมากที่ทำโรงเรือนแยกต่างหากจากบริเวณบ้านพัก ดังนั้น เพื่อให้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยพักหลับนอนในตอนกลางคืนด้วย
โรงเรือนไก่พื้นเมืองมีความสำคัญมาก สภาพของโรงเรืองไก่พื้นเมืองที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
         1. สามารถป้องกันแดดกันฝนได้ดี
         2. ภายในโรงเรือนควรโปร่ง ไม่อับทึบ ไม่ชื้น และระบายอากาศดีแต่ไม่ถึงกับมีลมโกรก
         3. ควรสร้างโรงเรือนแบบประหยัด ใช้สิ่งก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น รักษาความสะอาดง่าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ทั่วถึง
         4. ป้องกันศัตรูต่าง ๆ ได้ดี เช่น สุนัข แมว นก และหนู
         5. ห่างจากที่พักพอสมควร สะดวกต่อการเข้าปฏิบัติงานดูแลไก่พื้นเมือง มีที่ให้อาหารและน้ำ
เรื่องที่ 2 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และวิธีการสร้างโรงเรียนไก่พื้นเมือง
         วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างโรงเรือนไก่พื้นเมือง ควรพยายามใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ แฝก หญ้าคา ตะปู ลวดผูกลวดตาข่าย หรือถ้าผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีเงินทุน อาจใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเสาและโครงหลังคา ถ้าเป็นโรงเรืองขนาดใหญ่วิธีการสร้างโรงเรือนไก่พื้นเมืองสำหรับผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองรายย่อยโดยทั่วไป ไม่ค่อยพิถีพิถันกันมาก เพียงแต่ยึดหลักใหญ่ ๆ คือราคาถูกไม่ชื้นแฉะ ระบายอากาศได้ดี ไม่มีลมโกรก ป้องกันแดดกันฝนได้ ปฏิบัติงานได้สะดวก และมีพื้นที่ให้ไก่พื้นเมืองอยู่อย่างไม่แออัด
สุภาพที่ตั้งของโรงเรือน ควรห่างจากที่พักพอสมควร และอยู่ในที่เนินสูง พื้นโรงเรือนไก่พื้นเมืองอาจจะปูด้วยแกลบ ขี้เลื่อย หรือฟางแห้งหนาอย่างน้อยประมาณ 4 เซนติเมตร และควรเปลี่ยนวัสดุรองพื้นโรงเรือนไก่พื้นเมืองทุก ๆ 3 เดือน เมื่อสังเกตเห็นว่าวัสดุรองพื้นดูดซับความชื้นได้ไม่ดีโดยนำไปทำประโยชน์ในรูปของปุ๋ยหรือนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของปุ๋ยหมักได้โรงเรือนไก่พื้นเมืองกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร จะใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองขนาดใหญ่ได้ประมาณ 6-8 ตัว ถ้ามีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร ก็จะใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองขนาดใหญ่ได้ประมาณ 30-40 ตัว
ด้านที่ฝนสาดหรือแดดส่องมาก ๆ ควรมีผ้าใบ กระสอบ แฝก หรือเสื่อเก่า ๆ ห้อยทิ้งไว้ โดยเฉพาะมุมที่วางรังไข่ สำหรับคอนให้ไก่พื้นเมืองนอน ควรพาดไว้มุมใดมุมหนึ่งของโรงเรียน คอนนอนควรเป็นไม้กลมจะดีกว่าไม้เหลี่ยม ซึ่งไก่พื้นเมืองจะจับคอนนอนได้ดี และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลที่หน้าอกด้วย
ส่วนประกอบของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในส่วนอื่น ๆ คือ กรงขนอดเล็กสำหรับขังลูกไก่พื้นเมือง อาจจะมี 2-3 กรง หรือมากกว่านี้ บางคนใช้สุ่มแทนกรง แล้วแต่จำนวนลูกไก่พื้นเมือง ในบางครั้งอาจใช้กรงขังลูกไก่พื้นเมืองขนาดใหญ่ก่อนจำหน่าย หรือขังไก่ที่ไม่แข็งแรงได้
เรื่องที่ 3 วัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
หลังจากที่ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองสร้างโรงเรือนแล้ว ส่วนประกอบอย่างอื่นที่ขาดไม่ได้ คือ อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง อุปกรณ์ที่จำเป็นมีดังนี้
           1. ภาชนะใส่อาหาร ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่จะให้อาหารไก่พื้นเมืองโดยวิธีการโปรยหว่านลงบนลานหรือพื้นดิน แล้วปล่อยให้ไก่พื้นเมืองจิกกินเอง ทำให้ไก่พื้นเมืองตัวเล็ก ๆ ได้รับอาหารไม่ค่อยเพียงพอเพราะไก่พื้นเมืองที่ใหญ่กว่าจะแย่งจิกกินเสียจนหมดก่อน ดังนั้น ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองควรแยกไก่พื้นเมืองตัวใหญ่และตัวเล็กออกจากกัน จัดภาชนะใส่อาหารให้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้อาหารหกเรี่ยราดตัวไก่พื้นเมือง ไก่พื้นเมืองเองก็ปลอดภัยจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นดิน ภาชนะใส่อาหารไก่พื้นเมืองในชนบทควรเลือกใช้อุปกรณ์ราคาถูกจากวัสดุในท้องถิ่นที่ทำง่ายทนทานรักษาความสะอาดได้ง่าย เช่น กระบอกไม้ไผ่ผ่าซีก หรือยางรถยนต์ผ่าซีกก็ได้ แต่ถ้ามีเงินทุนมากหน่อยก็อาจซื้อที่ให้อาหารไก่แบบแขวนถังกลมที่นิยมกัน สำหรับภาชนะใส่อาหารเลี้ยงลูกไก่พื้นเมืองในระยะ แรก ๆ ควรใช้ถาดหรือภาชนะตื้น ๆ และให้เพียงพอกับจำนวนไก่พื้นเมืองที่เลี้ยง เพราะตามธรรมชาติแล้ว ไก่พื้นเมืองจะกินอาหารพร้อม ๆ กัน
          2. ภาชนะใส่น้ำ ควรจัดหามาให้ไก่พื้นเมืองได้กินน้ำตลอดเวลาภาชนะใส่น้ำนี้อาจใช้ไม้ไผ่ผ่าซีก ถ้วย จาน อ่างดิน หรือจะซื้อภาชนะใส่น้ำแบบขวดสำเร็จรูปก็ได้
         3. รังไข่ รังไข่เป็นสิ่งจำเป็นและต้องมีให้ครบตามจำนวนแม่ไก่พื้นเมือง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาแม่ไก่พื้นเมืองแย่งรังไข่กัน ขนาดของรังไข่ควรกว้าง 1ฟุต ยาว 1 ฟุต สูง 8 นิ้ว แล้วใช้ฟางหญ้าแห้งรองเพื่อป้องกันไข่แตก รังไข่ที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป อาจจะใช้เข่ง ปุ้งกี๋ หรือตะกร้าเก่า ๆ ไป วางไว้ให้ไก่พื้นเมืองไข่ก็ได้ ที่สำคัญที่ตั้งของรังไข่ควรอยู่ในที่มิดชิด ไม่ถูกแดดและฝน มิฉะนั้นไข่ไก่พื้นเมืองจะเน่าเสีย ฟักไม่ออกเป็นตัวก็ได้ เมื่อมีการฟักไข่ไปครอกหนึ่ง ควรเปลี่ยนวัสดุรองไข่เสียทีหนึ่ง
         4. คอนนอน ตามธรรมชาติไก่พื้นเมืองจะไม่นอนบนพื้นดิน แต่ชอบนอนบนต้นไม้ หรือคอนไม้ ดังนั้น การสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมืองควรมีคอนนอนให้ไก่พื้นเมืองไว้มุมใดมุมหนึ่งได้พักผ่อนในเวลากลางคืน ข้อสำคัญไม่ควรสร้างให้แคบจนเกินไป เพราะจะทำให้ไก่พื้นเมืองนอนแออัดหรือแย่งที่นอนกันได้
         5. สุ่มหรือกรง ในกรณีที่ต้องการอนุบาลลูกไก่พื้นเมืองในระยะแรก เพื่อให้ลูกไก่พื้นเมืองมีความแข็งแรงพอที่จะวิ่งหรือเดินตามแม่ไก่พื้นเมืองนั้น ควรเตรียมสุ่มไว้ 1-2 ใบ เพื่อใช้ขังแม่ไก่พื้นเมืองและลูกไก่พื้นเมืองใน 1-2 สัปดาห์แรก หากจะใช้กรงควรทำเป็นกรงขนาดเล็กโดยยกให้สูงจากพื้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร

การซ้อมนวมไก่ชน

วัตถุประสงค์
เพื่อฝึกให้ไก่ได้ออกกำลังกาย และฝึกชั้นเชิงการชน ให้รู้จักหลบหลีกหรือเข้าทำคู่ต่อสู้ เราจะได้เห็นเชิงไก่แต่
ละตัว รู้ว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งตรงไหนช่วยให้สามารถตัดสินใจได้เวลาเปรียบคู่ หรือรู้ว่าจะต่อสู้กับไก่ประเภทไหน
จึงจะได้เปรียบ คู่ซ้อมลงนวมหรือไก่นวม ควรมีหลายตัว มีทั้งไก่เชิงล่างและเชิงบน รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น
เช่น ที่ห่อปากหรือกระจับปาก นวมสวมเดือย ป้องกันไม่ให้ไก่บาดเจ็บ
วิธีการ
โดยนำไก่ 2 ตัว ซ้อมกันเหมือนซ้อมคู่ หรือปล้ำไก่โดยทั่วไป แต่เดือยและแข้งไก่ต้องพันด้วยนวมหนาๆ และ
สวมกระจับปาก เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่จิกกันได้ มีขั้นตอนดังนี้
1.ควรอาบน้ำไก่เหมือนปกติที่ปล้ำ บางคนลงนวมแห้ง คือ ไม่กราดน้ำ ซึ่งผิดหลัก เพราะจะทำให้ ไก่หอบมาก
เป็นอันตรายต่อระบบปอด หัวใจและตับ 
2.ไก่ที่เดือยยาว ควรพันเดือยชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงใช้นวมพันทับอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันเข้าหูเข้าตา 
3.การลงนวม ควรใช้กระจับปากเป็นดีที่สุด เพราะช่วยป้องกันปากไม่ให้กระเตาะหรือบิ่น ไก่แม้จะสวมนวม แต่
อาจใช้นิ้วสาดถูกปากกระเตาะได้เหมือนกัน 
4การลงนวมไก่ ควรเลือกคู่ที่เหมาะสม คือ ใช้ไก่ที่มีชั้นเชิงและมีค.วามแข็งแกร่งใกล้เคียงกัน ถึงจะเป็นการ
ลงนวมที่ถูกต้อง
 5.กรณีไก่งานหรือไก่ที่เลี้ยงออกแข่ง เป็นไก่หนุ่ม ไม่ควรใช้ไก่ถ่ายเป็นไก่นวมหรือคู่นวม เพราะจะทนแรง
เสียดสีไม่ได้ และทำให้เข็ดไก่
6.ไก่นวม ไม่ควรใช้ไก่ที่ชอบสาดแข้งเปล่า เพราะจะทำให้ไก่งานบอบช้ำ 
7.ไก่นวม หรือไก่ที่ใช้เป็นคู่นวมอย่างเดียว ควรตัดเดือยให้ราบแข้ง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ 
8.ระยะเวลาของการลงนวม ควรใช้เวลาประมาณ 25 - 30 นาที แต่ถ้าเป็นไก่ใหม่ๆ อาจใช้สัก 15 นาที ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสภาพของไก่ 
9.จำนวนยกของการลงนวม การลงนวมแต่ละครั้งควรลงนวมครั้งละ 1 ยก แต่ถ้าไก่แข็งแล้วอาจลง 2 ยกก็ได้
ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคนเลี้ยงและสภาพของไก่ 
10.ความถี่ของการลงนวม การลงนวมเว้น 2-3 วันต่อครั้ง บางคนลงนวมทุกวันทำให้ระอาและ ดีดไก่ในที่สุด 

11.ไก่บางตัวไม่ชอบลงนวมแบบสวมกระจับปาก ก็อย่าฝืน
หมายเหตุ : คอร์สการฝึกและการออกกำลังกายไก่ชนที่ยกตัวอย่างมาสามารถยืดหยุ่นได้ตามสภาพตัวไก่ และขึ้นอยู่กับผู้ควบคุมโปรแกรม

การฝึกซ้อมไก่ชนนั้น อาจจะมีวิธีการและหลักการบางอย่างแตกต่างกันไปบ้าง แล้วแต่ความเชื่อถือของผู้ฝึกหรือเจ้าของซุ้มแต่ละคน ครับ ดังนั้นค่อยๆศึกษาวิธีการและปรัปใช้ให้สมดุลกัน ครับ
เรื่องบางเรื่องผมเองไม่สามารถถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือหรือบทความได้โดยตรงที่จะทำให้มองเห็นภาพ ต้องอาศัยการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ครับ

สาระดีดีเกี่ยวกับไก่พม่า

 สาระดีดีเกี่ยวกับไก่พม่า
เนื่องจากไก่พม่าซึ่งมีสัญชาติญาณของไก่ป่าอยู่สูง ทำให้ไก่พม่านั้นมีความคล่องแคล่วและปราดเปรียวอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะนำ มาเลี้ยงอยู่ก็ตาม และในบางตัวขณะกราดน้ำต้องเอาเชือกผูกที่ขาก็มี แต่ไก่พม่าก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบของคนที่ชอบไก่พม่ากันอยู่ เพราะมีสีที่สวยและมีลูกตีเด็ดขาด ซึ่งบางครั้งถึงแม้ตัวละเล็กกว่า ไก่พม่าก็สามารถที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ที่ตัวใหญ่ๆกว่าได้
จุดเด่นของไก่พม่า
ไก่พม่าเป็นไก่ที่ตีหน้าตรงได้ดี เชิงตีหน้าตรงของไก่พม่านี้ จะเรียกว่าตีหน้าตรงอาชีพเลยก็ได้ ครับ หากคู่ต่อสู้เข้ามาโดยไม่ ระวัง มักจะถูกแข้งหน้าตรงเข้าเต็มๆ ทุกครั้ง หรือเป็นอาวุธเด็ดที่สำคัญในการทำลายนจังหวะของผู้ต่อสู้ ครับ
สาดแข้งเปล่าเก่ง ไก่พม่าเป็นไก่ที่มีลูกนำที่ดี หรือสาดแข้งเปล่านั้นเอง ลูกสาดแข้งเปล่านี้ถือว่าเป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ ไก่พม่าที่ไม่ต้องใช้ปากจับก่อนที่จะออกแข้ง ทำให้ได้เปรียบไก่ไทยที่บางครั้งต้องใช้ปากจับจึงจะตีได้
วางแผลได้แม่น จุดนี้ถือว่าเป็นเสน่ห์ที่ดีที่สุดของไก่ชนพม่า เพราะแผลที่ไก่พม่าตีนั้นจะเป็นแผลที่เป็นจุดตายทั้งสิ้น ไม่ ว่าจะเป็นบริเวณสามเหลี่ยมซอกคอ ที่มักจะทรุด บริเวณคอที่มักบวมหรือหัก บริเวณคอเชือด บริเวณวงแดง และดวงตา ซึ่งช่วยให้ เกิดการแพ้ชนะได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเสน่ห์การตีแม่นเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ไก่พม่าได้รับความชื่นชอบจากเซียนไก่ชนทั่วๆ ไปอย่าง ล้นหลาม
มีปีกที่ยาวและขนใยปีกเหนียวกว่าไก่ไทย ด้วยสัญชาตญาณคล้ายไก่ป่านี้เอง ทำให้ปีกของไก่ชนพม่ามีความยาวกว่าไก่ ไทย เพราะไก่พม่าต้องอาศัยการบินมากกว่า และแน่นอนกว่า คุณสมบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่งต่อการบินในขณะชน นอกจาก นี้แล้วใยปีกของไก่ชนพม่ายังเหนียวกว่าไก่ไทยอีกด้วย ทำให้คู่ต่อสู้เข้ามัดปีกไม่ทะลุ จึงเป็นข้อดีอีกทางหนึ่งในการป้องกันตัว
ไก่พม่าจะมีก๊อกสองก๊อกสามตลอด อันนี้ก็นับเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของไก่ชนพม่า เพราะบางทีถูกตีล้มคว้ำล้มหงาย แต่ ไก่พม่าก็สามารถจะเปิดก๊อกสองขึ้นมาติดคู่ต่อสู้ได้ตลอดเวลา
ไก่พม่าจะเป็นไก่ที่หลบหลีกเก่ง ไม่ค่อยเข้าเชิง ซึ่งลีลาเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ค่อยให้ใครเข้าขี่เชิงนัก ยกตัว อย่างเช่น หากเจอไก่กอด ไก่พม่าจะหลบหลีกด้วยการถอดหัวหรือชักลิ่มหนีการกอด หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการถอยและสาดแข้งเปล่า ซึ่งเป็นลีลาที่ถนัดอย่างมากทีเดียว
จุดด้อยของไก่พม่า
ไก่พม่าจะมีโครงกระดูกเล็ก ไก่พม่าส่วนใหญ่มีเชื้อสายจากไก่ป่า ดังนั้นจึงต้องการความปราดเปรียว โครงสร้างต่างๆ โดย เฉพาะกระดูกจึงค่อนข้างเล็ก บางครั้งเจอแข้งลำโตๆ เข้าไปก็อาจถึงหักได้
แต่ในปัจจุบันนั้นมีอาหารเสริมประเภท แคลเซียม ออกจำหน่าย และอีกอย่างมีการพัฒนาสายพันธิ์ นำเชื้อสาย พม่าง่อน พม่าง่อนไทย พม่าง่อนไต้หวัน พม่าบราซิล ลูกพัฒนาสามสาย ไขว้สายพันธิ์พัฒนากันไปมา จนทำให้สายเลือดนิ่งขึ้น จนทำให้ไก่ชนพม่าทุกวันนี้มีโครงสร้างที่ดีไม่แพ้ไก่ชนในสายพันธิ์อื่นๆทั่วไป ครับ จนเป็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน  ในวงการไก่ชนในประเทศไทย และประเทศเพื่อนมาก และมักมีราคาที่สูงกว่าไก่ชนสายพันธิ์อื่นๆ ครับ     
ยืนดินไม่แน่น สิ่งที่เซียนหลายๆ คนรู้สึกขัดใจเมื่อดูลีลาของไก่พม่าก็คือการโอนเอนไปมา หรือที่ภาษาเซียนเราเรียกว่า "ยืนดินไม่แน่น" นั่นเอง ซึ่งการยืนดินไม่แน่นนี้ บางครั้งอาจจะบั่นทอนความแรงของแข้งที่ดีดขึ้นไปอย่างช่วยไม่ได้ แต่ใน ปัจจุบันนี้ หากเป็นไก่พม่าลูกร้อย รอยเล็ก เรายังคงเห็นอาการอย่างที่ว่านี้อยู่ แต่ถ้าหากเป็นลูกผ่านหรือลูกครึ่งอาการยืนดินไม่ แน่นนี้จะหายไปเยอะจนเกือบจะไม่เหลือให้เห็นเลย หรือที่เรียกว่ายืนดินตีฝังแข้งขึ้น ครับ
นั่นคือข้อดีและข้อเสียของไก่ชนพม่าที่เข้ามาอวดศักดาอาละวาดในสังเวียนเมือง
ไก่พม่าเป็นไก่ที่สู้ไก่เร็ว อายุ 6 เดือนกว่าหรือ 7 เดือนก็จะเริ่มสู้ไก่แล้วบางตัวหางสร้อยยังเหลืออีกเยอะบางตัวหางพึ่งโผล่มาแค่ครึ่งเดียวเองก็เริ่มสู้ไก่แล้วเป็นด้วยสัญชาติญาณ ทั้งนี้อายุการเจริญเติบโตอยู่ที่การดูแล อาหารและสถาณที่ด้วย นะครับ ไก่รุ่นนี้ปกติทั่วไปตามซุ้มตามฟาร์มก็จะเริ่มจับครอบสุ่มแยกจากฝูง ให้กินข้าวเปลือก เสริมด้วยอาหารไก่ชน นิดๆเพื่อเติมโครงสร้าง ครับ
ธรรมชาติของไก่พม่าอายุเท่านี้ ที่ถูกต้องควรป่อยให้เต็มร่างขนปีกขนหางสุดเต็มที่ก่อน เพื่อรออายุกระดูกและโครงสร้าง ที่ถูกต้อง ต้องรออายุให้ได้ 8-9 เดือน แล้วจึงนำมาเค้าคอสฝึกฝนในวิธีการฝึกไก่ชนพม่าที่ถูกต้องได้ ครับ วิธีการเลี้ยงจะไม่เหมือนไก่ชนไทยหรือป่าก๋อยในบ้านเรา ครับ
ถ้าหากเราอยากดูเชิงชนเมื่อสู้เริ่มไก่ อายุ 6-7 เดือน ไก่อายุนี้จะเริ่มคุมฝูง คุมตัวเมีย มีความคึก หวงตัวเมีย เป็นสัญชาติญาณ ครับ แนะนำควรหาไก่รุ่นเดียวกัน หรือครูมวยที่กระดูกอายุอานามใกล้เคียง พันนวมสวมปากครูมวยใหหนา ให้ลองเตะดูสัก 5 นาที เพื่อดูเชิงชนเพลงตี และลีลาการออกแข้ง ครับ โดยมากไก่รุ่นนี้ที่เพิ่งจับครอบจากฝูงมักดูอะไรไม่ได้มาก ดูได้แค่ความคล่องตัว เหลี่ยมไก่และการออกแข้งเล็กๆน้อยๆ ครับ ว่าพอมีแววติดพ่อแม่หรือป่าว
จากนั้นเราต้องครอบรออายุ ให้โครงสร้างและอายุได้ เนื่องจากไก่ชนพม่าไม่เหมือนไก่เชิงป่าก๋อยทั่วไป ไก่พม่าถ้าเป็นไก่ใหม่ สัญชาติโดยธรรมชาติเป็นไก่ชนไม่แข็งแรง ถ้ายิ่งไม่เคยชนหรือกระดูกอ่อนยังอ่อนถ้าโดนไก่เชิงหรือก๋อยทุบเข้าไม่ก่อน อาจจะทำให้ดูหมดเก่ง หรือหมดอาวุธได้ บางทีอาจทำให้เสียไก่ไปเลย ครับ
แนะนำไก่พม่าใหม่ๆไม่ควรปล้ำจริง ยิ่งถ้าบางตัวมีเลือดพม่าที่สูงกระดูกโครงสร้างไม่ดี ต้องใช้วิธีเค้าคอสการเลี้ยงสักอาทิตย์หรือ 10 วันถึงจะปล้ำเช็คได้ ครับ ทางที่ดีก่อนนำไก่พม่าใหม่ๆไปปล้ำจริง ควรจะเตะนวมเตะเป้าออกกำลัง ให้กล้ามเนื้อ กล้ามขา แข็งแรงและยืนดินดีๆมีความคล่องตัวก่อน ก่อนนำไปปล้ำจริง นะครับ
พม่าเป็นไก่ที่เลี้ยงยากกว่าไก่ชนสายพันธิ์อื่นและต้องเข้าใจมัน และต้องอาศัยความใจเย็นพอสมควร ต้องสร้างความแข้งแรงและกล้ามเนื้อให้แก่เค้า เค้าถึงจะโชร์ลีลาการออกแข้งออกเสต็ปให้เห็น ซุ้มใหญ่หรือมืออาชีพ ถ้าเช็คเห็นดูพอมีแววแล้วสักครั้ง ยิ่งเป็นพม่าเลือดสูงๆจะป่อยรอายุ 10-11 เดือน แล้วค่อยนำมาเค้าคอสปล้ำชนจริงเพื่อรอกระดูก จะสังเกตุว่าสนามมาตราฐานทั่วไป ไก่ชนพม่าจะเล่นลูกอายุเพื่อรอกระดูกโครงสร้าง เพิ่มความมั่นใจในการชนได้ดี ครับ

การออกกำลังกายไก่ชน

วิธีการเลี้ยงไก่ก่อนออกชน

การเลี้ยงออกชน คือ ศิลปะอย่างหนึ่ง แต่ละซุ้มต่างมีเทคนิคในการเลี้ยงแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ทำให้ไก่ที่เราเลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรง มีพลัง ทนทานต่อความเจ็บปวดได้ดี จากประสพการณ์จริง เทคนิคที่ผู้เขียนจะนำมาเสนอ คือ1.เมื่อเราได้เลือกไก่ตัวโปรดมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นไก่สาพันธุ์อะไรก็แล้วแต่ ต้องมีสถานที่พร้อม เช่น
1.1 มีสถานที่ปล่อยให้ไก่ ได้เดิน อย่างน้อยๆควรมีพื้นที่กว้าง 2 เมตร X 4 เมตร และ ควรที่จะมีคอนให้ไก่เกาะ เพื่อที่ไก่จะได้บินเกาะคอน จะได้ออกกำลังกายไปในตัว
1.2 เล้าปล่อย ควรมีอากาศที่ถ่ายเทได้สะดวก มีแสงแดดอ่อนๆเข้าถึงได้
1.3 ภาชนะที่ใส่อาหาร ควรจับที่ให้ดูเรียบร้อย เช็กน้ำกินที่ไก่เลี้ยงอย่าให้ขาด และ สะอาด
2.ที่ออกกำลังกายมีความจำเป็นมาก ต้องแบ่งแยกตามลักษณะแต่ละสายพันธุ์ เช่น
2.1 ไก่พม่า100 ด้วยลีลาชั้นเชิงเป็นไม่เดินเข้าหาคู่ต่อสู้ การออกกำลังกายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี มุ้งกั้น หรือ เรียกกันว่าเตะมุ้ง การเตะมุ้ง ควรจะพันเดือยไก่ให้ดี ป้องกันเดือยโค่น หรือ เดือยหักได้
2.1.1 ก่อนไก่เตะมุ้งไม่ควรกาดน้ำไก่ เพราะจะทำให้ไก่หอบ หรือ เหนื่อยช้า เทคนิคผู้เขียนต้องการให้ไก่ที่หอบง่าย เพื่อที่ได้ฝึกการออกกำลังกายปอด เทคนิคนี้เมื่อไก่ที่เลี้ยงชน ทำเป็นประจำ เมื่อไก่ออกชนจริงจะหอบยาก เพราะได้ฝึกการออกกำลังกายปอด และ ให้ผู้เลี้ยงหมั่นสังเกตไก่ที่เราเลี้ยงอย่างละเอียด ในการออกกำลังกาย เช็กดูตามสภาพไก่ เพราะไก่แต่ละตัว ความแข็งแรงของร่างกายต่างกัน ขอเน้นด้วยการเตะมุ้งนานๆอาจทำให้ไก่ขาเสียได้ การเตะมุ้งผู้เลี้ยงควรตระหนักเป็นอย่างมาก
2.2 การออกกำลังกายไก่ไทย หรือ ไก่ลูกผสม ที่มีลีลาชั้นเชิง เป็นไก่เชิง หรือไก่บุกเพื่อที่จะทำร้ายคู่ต่อสู้ การออกกำลังกายจะเน้น การปล้ำนวม โดยการสวมปาก ไม่ให้จิกกันจะเน้นการเอากำลังเป็นหลัก
2.2.1 ทุกวันนี้ไก่สายพันธุ์พม่าม้าล่อ คือ คู่ปรับของไก่ไทย เช่น ไก่ไทยป่าก๋อย หรือ ไก่ลูกผสมที่มีลีลาชั้นเชิงบุกตี จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องหาไก่นวม หรือ ไก่ปล้ำที่เป็นไก่ม้าล่อ เพื่อฝึกการวิ่ง หรือ เรียกอีกอย่างว่าฝึกการออกกำลังกายปอด ระบบหายใจไก่เลี้ยงชนจำเป็นอย่างมาก ท่านเซียนๆไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด หลายๆท่านอาจมีเทคนิคที่ดีกว่านี้ แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ทำให้ไก่ที่เลี้ยงแข็งแรงเหมือนกัน